Page 200 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 200

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                         4-12





                                 4) การสร้างความเข้มแข็งแก่ชาวนาและองค์กรชาวนา
                                    แนวทางดําเนินการ

                                    (1)สร้างศูนย์กลางและเครือข่ายการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวประจําถิ่น
                                      สร้างและพัฒนาเครือข่ายระหว่างหน่วยราชการด้วยกัน ระหว่างหน่วยงาน

                      ราชการกับชาวนา และ ระหว่างชาวนากับชาวนา ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิต การบริหาร
                      จัดการผลิตข้าว ตั้งแต่การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา จนถึงการขนส่ง รวมทั้ง

                      ปรับปรุงศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีประจําตําบลศูนย์ข้าวชุมชน และสนับสนุนจัดสร้างศูนย์การ

                      เรียนรู้ชุมชน ในระดับหมู่บ้าน ที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ (Selective Area) และศักยภาพของชาวนา
                      เพื่อให้สามารถบริการชาวนาได้อย่างทั่วถึง

                                      ให้มีการปลูกฝังจิตสํานึกให้ชาวนารู้จักพึ่งพาตนเอง พึ่งพาซึ่งกันและกัน พร้อมด้วย
                      ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจัง ปรับความคิดและสร้างแรงบันดาลใจให้ชาวนาที่จะพัฒนา

                      ปรับปรุงการผลิตข้าวของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ให้ชาวนาตระหนักถึงการอนุรักษ์ การใช้
                      ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างรู้คุณค่า รวมทั้งอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น

                      ด้านข้าว
                                    (2)สนับสนุนการสร้างศูนย์กลางชาวนาในระดับพื้นที่

                                      ส่งเสริมให้สหกรณ์การเกษตร วิสาหกิจชุมชน ศูนย์ข้าวชุมชน กลุ่มเกษตรกร
                      เป็นศูนย์กลางชาวนาในระดับพื้นที่ หน้าที่ตั้งแต่การบริหารจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ ยเคมี

                      ปุ๋ ยอินทรีย์ สารชีวภาพ เครื่องจักรกลการเกษตร การสีแปรสภาพข้าว การค้า และการตลาดของชุมชน

                      โดยภาครัฐสนับสนุนงบประมาณและเครื่องมืออุปกรณ์ในเบื้องต้น
                                      ให้ชาวนารวมกลุ่มชาวนาเป็นองค์ประกอบชาวนาในรูปสมาคม หรือสหพันธ์

                      อย่างเป็นเอกภาพ ให้สมาชิกทุกคน ทุกระดับมีส่วนร่วมในการร่วมคิดและร่วมทํา ให้องค์กรชาวนา
                      เป็นองค์กรหลักในการประสานงานระหว่างภาครัฐและชาวนาในด้านต่างๆ เช่น การถ่ายทอดความรู้

                      และการช่วยเหลือสนับสนุนชาวนา
                                    (3)ยกระดับขีดความสามารถในการผลิตข้าวของชาวนา

                                      สร้างชาวนาปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ให้ชาวนาที่มีสรรถนะสูง โดยให้ความรู้
                      และจูงใจให้ชาวนาเห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับ เป็นการยกระดับมาตรฐานชาวนา รวมทั้งเป็นวิทยากร

                      จากชาวนาสู่ชาวนาของทุกพื้นที่ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ให้มีการเชิดชูและประกาศเกียรติ
                      คุณชาวนาและกลุ่มเกษตรกรที่ประสบความสําเร็จ

                                      สร้างลูกหลานและเยาวชนเป็นยุวชาวนาเพื่อสืบสานอาชีพทํานา สร้างแรงบันดาล

                      ใจ การวาด ภาพอนาคตที่ดีของชาวนาให้เด็กรุ่นใหม่ มีการนําไปศึกษาดูงานการทํางานจริงของชาวนา
   195   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205