Page 202 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 202

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                         4-14





                      รัฐบาลจัดสรรงบประมาณประเดิมในการจัดตั้งกองทุนและสนับสนุนงบประมาณเป็นรายปีเข้า
                      กองทุน รวมทั้งให้ความสําคัญกับการบริหารจัดการกองทุน

                                    (7)วิจัยภาวะเศรษฐกิจ สังคม ความต้องการของชาวนาและพัฒนารูปแบบการ
                      ส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชาวนา

                                      วิจัยภาวะเศรษฐกิจ สังคม พฤติกรรม ปัญหาและความต้องการของชาวนา ตาม
                      กลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มชาวนาที่ผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือนเอง กลุ่มชาวนาที่ผลิตเพื่อการค้า และกลุ่ม

                      ชาวนาที่ผลิตทั้งเพื่อบริโภคในครัวเรือนเองและเพื่อการค้า กลุ่มชาวนาที่มีพื้นที่ปลูกขนาดเล็ก กลุ่ม

                      ชาวนาที่มีพื้นที่ปลูกขนาดกลาง และกลุ่มชาวนาที่มีพื้นที่ปลูกขนาดใหญ่ เพื่อนําผลจากการวิจัยที่ได้
                      ไปกําหนดเป็นนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาชาวนาได้ถูกต้อง ตรงกับ

                      ปัญหาและความต้องการของชาวนา
                                      วิจัยและพัฒนารูปแบบการส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มสมรรถนะ

                      ของชาวนาในการผลิตข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่
                      เปลี่ยนแปลงไป

                       4.3.2  ประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการตลาด

                              1) มีแผนพัฒนาข้าวที่ยั่งยืนและมีเสถียรภาพ
                                 แนวทางดําเนินการ
                                 (1)จัดตั้งสถาบันพัฒนาการพาณิชย์ข้าว เพื่อเป็นสถาบันพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ

                      และให้บริการด้านการตลาดข้าวแบบเบ็ดเสร็จ

                                 (2)จัดให้มีการรวมกลุ่มภาคเอกชน ผู้มีส่วนร่วมหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งจาก
                      ภาครัฐเป็นหลัก คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม เป็น

                      องค์ประกอบของคณะกรรมการสถาบันพัฒนาการพาณิชย์ข้าว
                                 (3)กําหนดให้สถาบันพัฒนาการพาณิชย์ข้าว ทําหน้าที่รวบรวมความต้องการและ

                      แนวทางปฏิบัติ ที่เป็นจริงได้ และกําหนดขอบเขตให้ครอบคลุมข้าวทั้งหมด ในช่วงระยะเวลา 5ปี เพื่อ
                      เสนอเป็นแผนแม่บทข้าวต่อไป

                                 (4)จัดให้สถาบันพัฒนาการพาณิชย์ข้าว ได้มีบทบาทหรือมีส่วนร่วม ในการนําเสนอ
                      นโยบายเรื่องข้าวในภาคส่วนต่างๆของภาครัฐ เพื่อช่วยให้การกํากับของภาครัฐเป็นไปในทิศทาง

                      เดียวกันกับแผนแม่บทของข้าว
   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206   207