Page 194 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 194

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                          4-6





                                      ส่วนในเขตพื้นที่ไม่เหมาะปลูกข้าว (นอกเขต Zoning) จะสนับสนุนให้ชาวนา
                      ปรับเปลี่ยนจากการปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น หรือไปทํากิจกรรมอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่า เช่น

                      อ้อย ข้าวโพด มันสําปะหลัง ปาล์มนํ้ามัน หญ้าอาหารสัตว์สําหรับเลี้ยงโคนม (หญ้าเนเปียร์) ประมง
                      และไร่นาสวนผสม

                                      มีการนําเทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียมมาใช้ในการวิเคราะห์พื้นที่มีความเสี่ยงต่อ
                      ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ประกอบการกําหนดเขตส่งเสริมการปลูกข้าวเพื่อป้ องกันและลดความเสี่ยงต่อ

                      ความเสียหาย

                                    (2)จัดระบบการปลูกข้าวแบบมีส่วนร่วมในเขตพื้นที่ชลประทาน
                                      ทําการจัดระบบการปลูกข้าว โดยลดรอบการปลูกข้าวจาก 3 ครั้งต่อปี หรือ 5ครั้ง

                      ต่อ 2 ปี ให้เหลือเพียง 2 ครั้งต่อปี โดยใช้ระบบการส่งนํ้าชลประทานมากํากับเป็นโซนๆ จํากัดปริมาณ
                      ช่วงเวลาการให้นํ้าและกําหนดสิทธิการใช้นํ้าของชาวนา

                                    ส่งเสริมให้ชาวนาปลูกพืชปุ๋ ยสดหรือพืชอื่นเสริมคั่นกลาง เช่นถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่ว
                      ลิสง โดยภาครัฐจะสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ และปัจจัยอื่นๆ ที่มีความจําเป็น เพื่อเป็นมาตรการจูงใจ

                                    ส่งเสริมสนับสนุนให้ชาวนาที่ปลูกข้าวในฤดูนาปรังปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้
                      ผลตอบแทนสูงกว่าและมีตลาดรองรับ

                                    (3)ปรับเปลี่ยนการปลูกข้าวในพื้นที่ไม่เหมาะสม
                                    ทําการชี้แจงให้ความรู้ความเข้าใจและส่งเสริมสนับสนุนให้ชาวนาปรับเปลี่ยนการ

                      ปลูกข้าวในพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) ในระยะแรกจํานวน 11.22 ล้านไร่ ไปปลูกพืชอื่นหรือทํากิจกรรม

                      อื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าและมีตลาดรองรับ เช่น อ้อย ข้าวโพด มันสําปะหลัง หญ้าอาหารสัตว์สําหรับ
                      เลี้ยงโคนม (หญ้าเนเปียร์) ประมง และไร่นาสวนผสม โดยมีมาตรการจูงใจให้ชาวนาปรับเปลี่ยน ดังนี้
                      1) สนับสนุนค่าปรับสภาพพื้นที่ปลูก และค่าปัจจัยการผลิตให้เกษตรกรครึ่งหนึ่ง 2) สนับสนุน

                      เงินทุนให้เกษตรกร โดยเกษตรกรจะได้รับสินเชื่อปลอดดอกเบี้ย หรือดอกเบี้ยราคาถูก (รัฐช่วยจ่าย

                      ดอกเบี้ย) 3) ถ่ายทอดความรู้และติดตาม ให้คําแนะนําอย่างใกล้ชิดในช่วงเริ่มต้น 4) สนับสนุนการ
                      ประกันภัยความเสี่ยงราคาในช่วงเริ่มต้น

                                    หากสามารถปรับเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในพื้นที่เหมาะสมมาก (S1 จํานวน17.35 ล้านไร่)
                      และพื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2  จํานวน 26.57 ล้านไร่) ให้มีผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว และ

                      ปรับเปลี่ยนการปลูกข้าวในพื้นที่ไม่เหมาะสมไปปลูกพืชได้หมดแล้ว ในขณะที่อุปสงค์ข้าวไม่เพิ่มขึ้น
                      จึงจะดําเนินการปรับเปลี่ยนการปลูกข้าวในพื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย ในระยะที่ 2 (S3 จํานวน 16.19

                      ล้านไร่) ไปปลูกพืชอื่นหรือทํากิจกรรมอื่น ด้วยมาตรการจูงใจให้ชาวนาปรับเปลี่ยนเช่นเดียวกันใน
                      พื้นที่ไม่เหมาะสม
   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199