Page 197 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 197

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                          4-9





                                    (5)ส่งเสริมสนับสนุนการใช้ปุ๋ ยอินทรีย์ ปุ๋ ยชีวภาพ
                                      ส่งเสริมสนับสนุนให้ชาวนาใช้ปุ๋ ยอินทรีย์ ปุ๋ ยชีวภาพ การใช้แหนแดงในนาข้าว

                      การไถกลบตอซังข้าว การใช้ปุ๋ ยพืชสด การทํานํ้าหมักชีวภาพ และการทําปุ๋ ยหมักอัดแท่ง เพื่อปรับปรุง
                      บํารุงดิน และลดต้นทุนการผลิตข้าวจากการลดการใช้ปุ๋ ยเคมีซึ่งมีราคาสูง

                                    (6)ควบคุมราคา คุณภาพปัจจัยการผลิต ค่าบริการ และค่าเช่าที่นา
                                      ควบคุมการขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต และควบคุมราคาจําหน่ายปัจจัยการผลิต

                      ให้เป็นธรรม มีการควบคุมคุณภาพปัจจัยการผลิตอย่างเข้มงวด เพื่อไม่ไห้มีการปลอมปน โดยให้มีการ

                      ป้องปราม เข้มงวดกวดขันการโฆษณาชวนเชื่อคุณสมบัติของสารเคมีที่เกินความเป็นจริง ควบคุมราคา
                      ค่าบริการเก็บเกี่ยว และค่าเช่าที่นา ให้มีราคาเป็นธรรมกับชาวนา รวมทั้งควบคุมกํากับ ดูแล ติดตาม

                      และฝึกอบรมผู้ประกอบการรับจ้างทํานาให้ปฏิบัติการอย่างถูกหลักวิชาการ
                                    (7)พัฒนาระบบเตือนภัยธรรมชาติและการระบาดของศัตรูข้าว

                                      พัฒนาระบบเตือนภัยธรรมชาติและการระบาดของศัตรูข้าวที่มีประสิทธิภาพ
                      รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการป้ องกันกําจัดการระบาดของศัตรูข้าวให้แก่ชาวนาโดยการสร้าง

                      เครือข่ายชาวนา และเชื่อมโยงข้อมูลการระบาดศัตรูข้าวระหว่างภูมิภาคกับส่วนกลางให้มีการสื่อสาร
                      แบบ 2 ทาง (Two - way Communication)

                                    (8) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเก็บรักษาข้าว และการขนส่งสินค้าข้าวของชาวนา
                                      ปรับปรุงและพัฒนาระบบการตาก การลดความชื้น การเก็บรักษา ยุ้งฉาง รวมทั้ง

                      วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่ชาวนา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บรักษาและ

                      เพิ่มคุณภาพข้าว
                                      พัฒนาระบบการขนส่งสินค้าข้าวของชาวนาจากระดับชุมชนถึงระดับประเทศให้
                      มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อลดความสูญเสีย

                                    (9) ขยายการพัฒนาแหล่งนํ้าและระบบชลประทาน จัดรูปที่ดิน และฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์

                      ของดิน ให้ครอบคลุมพื้นที่ปลูกข้าวที่สําคัญ
                                      เพิ่มระบบชลประทาน พัฒนาแหล่งนํ้าขนาดเล็กในไร่นา ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                      ภาคเหนือและปรับปรุงการบริหารจัดการนํ้าในเขตพื้นที่ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง โดยให้เกษตรกร
                      มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการนํ้า

                                      ฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน และขยายพื้นที่จัดรูปที่ดิน โดยการปรับระดับพื้นที่
                      แปลงนาให้ราบเรียบสมํ่าเสมอ (Land  leveling) และจัดรูปแปลงนา (Land  Consolidation) ให้เหมาะสม

                      เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการนํ้าและการทํานา
   192   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202