Page 175 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 175

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            3-115






                      คําปรึกษาแนะนํา เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามโครงการได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพแก่เจ้าหน้าที่
                      เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานโครงการ รวมทั้งเกษตรกรผู้ร่วมโครงการ และจัดให้มีการประเมินผล

                      การดําเนินงานโครงการในกิจกรรม ขั้นตอนการดําเนินงาน และผลที่เกิดขึ้นจากการดําเนินกิจกรรม
                      โครงการในทุกระดับ ตลอดจนปัญหาอุปสรรคในการดําเนินการโครงการและข้อเสนอแนะ

                              (15)  จัดหาตลาดเพื่อรองรับผลผลิตพืชหลังนาที่ได้จากการจัดระบบการปลูกข้าว ใน
                      รูปแบบต่างๆ เช่น จัดให้มีการทําตลาดข้อตกลง (contact farming) สร้างตลาดในระดับท้องถิ่น และมี

                      การเชื่อมโยงตลาดระหว่างผู้ซื้อกับผู้ผลิต เป็นต้น

                               ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการจัดระบบการปลูกข้าว
                                (1) ผลประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับ

                               -  ต้นทุนการผลิตลดลงจากการใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้อง เช่น ชนิดพันธุ์ที่เหมาะสม
                      เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ การใช้เมล็ดพันธุ์ในปริมาณที่เหมาะสม การใช้ปุ๋ ยเคมีและสารเคมีกําจัดศัตรูข้าว

                      ที่ถูกต้อง รวมทั้งนํ้ามันเชื้อเพลิงในการสูบนํ้า ทําให้ต้นทุนการผลิตต่อไร่ลดลง และผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่
                      เพิ่มขึ้น

                               -ผลตอบแทนจากการปลูกข้าวมากขึ้นเนื่องจากระบบการปลูกข้าวใหม่ เกษตรกร

                      ไม่ทําการปลูกข้าวอย่างต่อเนื่อง ทําให้ลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนนํ้า รวมทั้งการปะปนของข้าว
                      วัชพืช/ข้าวดีด/ข้าวเด้งที่สะสมจากการทํานาแบบต่อเนื่อง เป็นผลให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้น

                               (2) ผลประโยชน์ในภาพรวมของประเทศ
                               -  ผลผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้นการปลูกข้าว 2  รอบต่อปี ทําให้มีการจัดการการผลิต

                      อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปลูกข้าวคุณภาพตํ่าที่มีอายุสั้น ส่งผลให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่โดยรวมเพิ่มขึ้น
                               -  ระบบนิเวศในพื้นที่นาเขตชลประทานดีขึ้นจากการพักดินหรือการปลูกพืชอื่น

                      หมุนเวียน ทําให้พื้นที่นาได้รับการฟื้ นฟูและปรับปรุงโครงสร้างของดินให้มีความอุดมสมบูรณ์

                      โดยเฉพาะหากมีการปลูกพืชหมุนเวียนซึ่งเป็นพืชตระกูลถั่ว จะเพิ่มธาตุอาหารในดิน ทําให้เกษตรกร
                      สามารถลดการใช้ปุ๋ ยเคมีและสารเคมีเนื่องจากการสะสมของศัตรูข้าวลดลง ส่งผลต่อสภาพแวดล้อม

                      ที่ดีขึ้นในวงกว้าง ทั้งในพื้นที่นา แหล่งนํ้า และภูมิอากาศ ตลอดจนลดก๊าซมีเทนซึ่งมีผลต่อภาวะโลกร้อน
                      นอกจากนี้ยังเป็นการฟื้นฟูแมลงศัตรูธรรมชาติซึ่งช่วยควบคุมและลดการระบาดของโรคแมลงศัตรูข้าวได้

                               -        เพิ่มปริมาณผลผลิตพืชไร่ บางชนิดและทดแทนการนําเข้าทําให้ไม่สูญเสีย
                      เงินตราต่างประเทศ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียว และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นต้น

                               -ลดการนําเข้าสารเคมีและปุ ๋ ยเคมีจากการปลูกข้าวที่ลดลงจะช่วยให้ลดการนําเข้า

                      ปุ๋ ยเคมีและลดการใช้สารเคมี
   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180