Page 20 - การใช้น้ำหมักชีวภาพควบคุมแมลงศุตรูพืช พด.7 ในการควบคุมหนอนชอนใต้ผิวเปลือกลองกองเพื่อผลิตลองกอง
P. 20
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
12
อุปกรณ์และวิธีด าเนินการ
วัสดุและอุปกรณ์
1. ต้นลองกอง อายุประมาณ 10 ปี
2. น้้าหมักชีวภาพควบคุมแมลศัตรูพืช พด.7 ที่ผลิตจากบอระเพ็ด
3. อุปกรณ์ส้าหรับการเตรียมแปลงวิจัย เช่น ป้ายแปลงวิจัย ไม้หลัก เชือก เป็นต้น
4. อุปกรณ์ส้าหรับด้าเนินการวิจัย เช่น เครื่องฉีดพ่นพด.7 เครื่องพ่นสารเคมีฆ่าแมลง เป็นต้น
5. อุปกรณ์ส้าหรับการเก็บข้อมูลวิจัย เช่น ถุงเก็บตัวอย่างดิน ไม้บรรทัด ปากกาเคมี เป็นต้น
วิธีการทดลอง
1. วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) จ้านวน 4
วิธีการทดลอง วิธีการละ 5 ซ้้า วิธีการทดลองมีดังนี้
วิธีการที่ 1 แปลงควบคุม
วิธีการที่ 2 คลอไพริฟอส อัตรา 120 ซีซีต่อน้้า 20 ลิตร
วิธีการที่ 3 สารป้องกันแมลงศัตรูพืชพด.7 (บอระเพ็ด) พ่นบริเวณที่มีการระบาดทุก 7 วัน
วิธีการที่ 4 สารป้องกันแมลงศัตรูพืชพด.7 (บอระเพ็ด) พ่นบริเวณที่มีการระบาดทุก 14 วัน
หมายเหตุ สารป้องกันแมลงศัตรูพืชพด.7 ใช้อัตรา 1:200
การเก็บข้อมูล
1. ข้อมูลพืช
นับจ้านวนแผลและปริมาณตัวหนอนชอนเปลือกลองกอง ทุก 7 วัน โดยการขูดกิ่งร่วมกับการ
ใช้สารเคมีหรือน้้าหมักชีวภาพตามวิธีวิจัย เมื่อพบว่ามีหนอนท้าลายมาก ต้องตรวจสอบปริมาณตัว
หนอนโดยให้ขูดผิวเปลือกออกเป็นพื้นที่ขนาด 6x6 นิ้ว ในระดับความสูงเกินกว่า 1.5 เมตรขึ้นไป
จ้านวน 5 จุดต่อต้น หรือใช้น้้าหมักชีวภาพจากสารเร่ง พด.7 อัตรา 1:200
2. การเก็บข้อมูลดิน
เก็บตัวอย่างดินก่อนและหลังด้าเนินการตามวิธีการวิจัย 3 เดือน ทุกวิธีการการทดลองที่
ระดับความลึก 0-30 เซนติเมตร วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางเคมีดิน ได้แก่ ความเป็นกรดเป็นด่าง
(pH) อินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
3. การวิเคราะห์ข้อมูล
3.1 เปรียบเทียบสมบัติทางเคมีของดินก่อนและหลังการทดลอง
3.2 เปรียบเทียบปริมาณ และเกรดของผลผลิตลองกอง
4. ลักษณะผลผลิต
4.1 คัดแยกผลผลิตตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร (ตารางที่ 1)
4.2 บันทึกข้อมูลผลผลิตตามค่ามาตรฐานเปรียบเทียบในแต่ละวิธีการ