Page 16 - การใช้น้ำหมักชีวภาพควบคุมแมลงศุตรูพืช พด.7 ในการควบคุมหนอนชอนใต้ผิวเปลือกลองกองเพื่อผลิตลองกอง
P. 16
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
8
การแพร่กระจายและฤดูการระบาด
หนอนกินใต้ผิวเปลือก Microchlora sp. จะพบการเข้า ท้าลายในช่วงเดือนกรกฎาคม-
มกราคม ในช่วงอากาศแห้งแล้ง
ศัตรูธรรมชาติ
ศัตรูธรรมชาติที่ส้าคัญของหนอนกินใต้ผิวเปลือกลองกอง ได้แก่ กระรอก กระถิก มดง่าม มด
ไส้เดือนฝอย Sterneinema carpocapsae และแมลงหางหนีบ (ล้ายอง, 2557)
แนวทางการป้องกันก าจัด
ก่อนอื่นต้องค้านึงถึงความแข็งแรงของต้นลองกอง ถ้าต้นลองกองทรุดโทรม จะมีการเข้า
ท้าลายของศัตรูพืชมากยิ่งขึ้นตามมาด้วย โดยเฉพาะหนอนชอนเปลือก เมื่อบ้ารุงรักษาสวนลองกอง
ตามวิธีการเขตกรรมความเหมาะสมดีแล้วจะช่วยลดความเสียหายลงได้ระดับหนึ่ง หากยังไม่ได้ผลควร
ใช้วิธีการป้องกันก้าจัดในหลายๆ วิธี ร่วมกัน เช่น การใช้สารชีวินทรีย์ต่างๆ และการใช้น้้าหมักหรือ
สมุนไพร ช่วยในการป้องกันก้าจัด โดยจะต้องพิจารณาถึงความเหมะสมในแต่ละสภาพพื้นที่และ
สถานการณ์ ส่วนการใช้สารเคมีจะมีผลกระทบและส่งผลเสียต่อสิ่งต่างๆ มากมาย ดังที่ทราบกันดีอยู่
แล้ว จึงยังไม่แนะน้า
1 การเขตกรรม
1.1 ปรับปรุงต้นลองกองให้มีสภาพสมบูรณ์ โดยให้น้้า และให้ปุ๋ยที่เหมาะสม ตามการวินิจฉัย
และค้าแนะน้า ในแต่ละสภาพแตกต่างกัน
1.2 ก้าจัดวัขพืช และแหล่งอาศัยของหนอน ให้เหมาะสม รวมทั้งอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติอื่น ๆ
เช่น นก และกระแต ช่วยก้าจัดหนอนได้เป็นอย่างดี
1.3 บริเวณโคนต้นควรปรับสภาพให้มีความชื้นที่เหมาะสม โดยให้มีวัชพืชขื้นปกคลุมบาง
เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของแมงศัตรูธรรมชาติ เช่นมด แมงมุม เป็นต้น รวมทั้งยังช่วยเพิ่มความชื้นให้กับ
ต้นลองกอง ท้าให้ต้นลองกองมีความแข็งแรง
1.4 ควรท้าการตัดแต่งกิ่งที่มีหนอนอาศัยออก และท้าการขูดเปลือกล้าต้นที่ถูกหนอนท้าลาย
ออก โดย อุปกรณ์ที่เหมาะสม เช่น มีด หรือ สายพลาสติก ควรท้าปีละ 2 ครั้ง คือหลังเก็บเกี่ยว และ
ก่อนแทงช่อดอก 1 เดือน เพื่อไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อตาดอก
2.การควบคุมด้วยชีวินทรีย์
2.1 ใช้ไส้เดือนฝอย (Steinernema carpocapsae) ใช้ 2 ล้านตัว/ลิตร อัตรา 2-3 ลิตร/ต้น
(1ไร่ = 30 ต้น, 60-150 ลิตร/ไร่) พ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 15 วัน
2.2 ใช้เชื้อบีทีชีวภาพ ประมาณ 5-10 กรัม (1-2 ช้อนกาแฟ) หมักขยายเชื้อด้วยน้้ามะพร้าว
อ่อน 36 ชั่วโมงแล้วน้ามาผสมน้้าเปล่า 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วล้าต้นที่พบการเข้าท้าลายของหนอนชอน
เปลือกอย่างชุ่มโชกเหมือนอาบน้้า โดยให้ท้าการฉีดพ่นประมาณ 2-3 ครั้ง ห่างกันประมาณ 5 วัน
สัปดาห์ที่ 2 เริ่มพบว่าหนอนค่อยๆตาย มีปริมาณน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ส้าหรับเวลาที่เหมาะสมใน
การฉีดพ่นควรเป็นเวลาช่วงเย็นๆ ประมาณ 4-5 โมงเย็น
2.3 แมลงหางหนีบ เป็นตัวห้้าของแมลงศัตรูพืชหลายชนิด มักส้ารวจพบบนต้นลองกองอยู่
เสมอ แมลงหางหนีบจะใช้แพนหางที่เหมือนคีมหนีบเหยื่อแล้วกินเป็นอาหารโดยตรงโดยเฉพาะไข่