Page 19 - การใช้น้ำหมักชีวภาพควบคุมแมลงศุตรูพืช พด.7 ในการควบคุมหนอนชอนใต้ผิวเปลือกลองกองเพื่อผลิตลองกอง
P. 19
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
11
เพาะเลี้ยงจ้านวนมากๆ แล้วเติมลงไปในดินที่จะเพาะปลูกพืช เพื่อให้จุลินทรีย์ที่ต้องการนั้นได้
เจริญเติบโตเพิ่มปริมาณและยังเป็นการสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อดิน อาทิช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุ
ในดิน ซึ่งพืชสามารถน้าไปใช้ประโยชน์ได้ ท้าให้ดินอุดมสมบูรณ์ (ธวัชชัย, 2547)
พัฒนารูปแบบการป้องกันก้าจัดศัตรูพืชโดยการใช้สารสกัดชีวภาพ อันเป็นการน้าภูมิปัญญา
ท้องถิ่นกลับมาใช้และเริ่มได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายเพิ่มมากขึ้น เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ได้
เริ่มตระหนักถึงพิษภัยและผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของตนเองจากการใช้สารเคมีทาง
การเกษตรมากขึ้น (นงค์นภา, 2552)
การใช้สารสกัดชีวภาพนับเป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันและก้าจัดศัตรูพืชที่มีประสิทธิภาพ
ปลอดภัยต่อผู้ใช้ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งต้นทุนในการผลิตก็ไม่สูงมากนัก เพราะมีการ
ประยุกต์โดยน้าผลผลิตทางอุตสาหกรรมการเกษตรหรือพืชสมุนไพรต่างๆ ที่มีอยู่มากมายในประเทศ
ไทยมาใช้ ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายและมีราคาถูก ท้าให้ช่วยลดต้นทุนในการผลิตของเกษตรกรลงได้
รวมทั้งปลอดภัยต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ผลผลิตที่ได้จึงเป็นที่ต้องการของ
ผู้บริโภคอย่างยิ่ง (ธวัชชัย และละอองดาว, 2546)
ระยะเวลาและสถานที่ด าเนินการ
ระยะเวลาท าการวิจัย
เริ่มต้น เดือนตุลาคม พ.ศ. 2555
สิ้นสุด เดือนกันยายน พ.ศ. 2556
สถานที่ด าเนินการ
แปลงลองกองของเกษตรกร จ. สุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 บ้านไสเหนือ ต้าบลนาใต้
อ้าเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พิกัด E535874 N982021
Site characterization จากการตรวจสอบดินในพื้นที่พบว่า ดินที่ท้าการทดลองจัดอยู่ใน
กลุ่มชุดดินที่ 32 ชุดดินตาขุน (Tha Khun series: Tkn) การจ้าแนกดิน Coarse-loamy, mixed,
superactive, acid, isohyperthermic Typic Udifluvents การก้าเนิด เกิดจากตะกอนน้้าพามาทับ
ถมอยู่บนสันดินริมน้้า สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ การ
ระบายน้้า ดี การไหลบ่าของน้้าบนผิวดิน ปานกลาง การซึมผ่านได้ของน้้า เร็ว พืชพรรณธรรมชาติ
และการใช้ประโยชน์ที่ดิน ไม้ผล ยางพารา การแพร่กระจาย พบทั่วไปในบริเวณสันดอนริมแม่น้้าของ
ภาคใต้และพื้นที่ชายฝั งทะเล ภาคตะวันออก การจัดเรียงชั้น A-C ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก
มาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายถึงเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายมีสีน้้าตาล ดินล่างเป็นชั้นสลับ
ที่มีเนื้อดินเป็นดินทรายถึงเป็นดินร่วนเหนียวปานกลาง มีสี น้้าตาล อาจมีจุดประสีเหลือง มีไมก้า
ตลอดทุกชั้นดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด (pH 4.5-5.5) ตลอดหน้าตัดดิน ระดับน้้าใต้ดิน
ลึก (กรมพัฒนาที่ดิน, 2548)