Page 23 - การใช้น้ำหมักชีวภาพควบคุมแมลงศุตรูพืช พด.7 ในการควบคุมหนอนชอนใต้ผิวเปลือกลองกองเพื่อผลิตลองกอง
P. 23
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
15
ผลการทดลองและวิจารณ์
1. สมบัติทางเคมีดิน
1.1 ค่าปฏิกิริยาดิน
จากผลการศึกษา ก่อนด้าเนินการ พบว่า ดินทุกวิธีการมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
ระหว่าง 5.40-5.79 ซึ่งมีความเป็นกรดแก่ถึงกรดปานกลาง และเมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าดินใน
ทุกวิธีการมีความเป็นกรดเป็นด่างของดินลดลง (ตารางที่ 4)
ตารางที่ 4 แสดงค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) ปีการทดลอง พ.ศ.2556
วิธีการการทดลอง ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH)
ก่อนทดลอง หลังทดลอง
1 แปลงควบคุม 5.45 4.61
2 คลอไพริฟอส อัตรา 120 ซีซีต่อน้้า 20 ลิตร 5.47 4.84
3 สารป้องกันแมลงศัตรูพืชพด.7 (บอระเพ็ด) 5.40 5.46
พ่นบริเวณที่มีการระบาดทุก 7 วัน
4 สารป้องกันแมลงศัตรูพืชพด.7 (บอระเพ็ด) 5.79 5.02
พ่นบริเวณที่มีการระบาดทุก 14 วัน
ที่มา : ห้องปฏิบัติการ กลุ่มวิเคราะห์ดิน ส้านักงานพัฒนาที่ดินเขต 11 กรมพัฒนาที่ดิน
1.2 เปอร์เซ็นต์อินทรียวัตถุในดิน
จากผลการศึกษา ก่อนด้าเนินการ พบว่า ดินทุกวิธีการมีปริมาณอินทรียวัตถุของดินพิสัย
ระหว่าง 1.42-1.81 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอยู่ในระดับค่อนข้างต่้าถึงปานกลาง และเมื่อสิ้นสุดการทดลอง
พบว่าดินในวิธีการที่ 1 และ 2 ดินมีปริมาณอินทรียวัตถุของดินลดลง แต่วิธีการที่ 3 และ 4 ซึ่งใช้สาร
ไล่แมลงจากพด. 7 มีปริมาณอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับ นงค์นภา และคณะ (2552) ทดลองใช้
น้้าสกัดชีวภาพจากหนอนตายหยาก และน้้าสกัดชีวภาพอีเอ็มส้าหรับเพิ่มผลิตถั่วเหลืองพบว่าปริมาณ
อินทรียวัตถุในดินมีค่าเพิ่มขึ้น (ตารางที่ 5)