Page 11 - การใช้น้ำหมักชีวภาพควบคุมแมลงศุตรูพืช พด.7 ในการควบคุมหนอนชอนใต้ผิวเปลือกลองกองเพื่อผลิตลองกอง
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         3








                                                        หลักการและเหตุผล
                              ลองกองเป็นผลไม้เศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกมากในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องจากราคา

                       ค่อนข้างสูงและสามารถท้าก้าไรสูงให้แก่เกษตรกร ปัจจุบันจึงมีการขยายพื้นที่ปลูกมากขึ้น เนื่องจากให้
                       ผลตอบแทนสูง แต่การปลูกลองกองนั้น ต้องมีแหล่งน้้าเพียงพอ ลองกองเป็นพืชที่ชอบร่มเงาและไม่
                       ชอบลมแรง เพราะถ้าแสงแดดจัดจะท้าให้ใบไหม้ ส่วนลมแรงจะพัดเอาความชื้นออกจากสวนจึงควร

                       สร้างร่มเงาและปลูกไม้บังลมรอบๆสวน  นอกจากนี้การท้าสวนลองกองจะให้ผลตอบแทนที่ดีก็ต่อเมื่อ
                       เกษตรกรสามารถจัดการสวนลองกองได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ ต้องสามารถผลิตลองกองให้ได้
                       ในปริมาณและคุณภาพที่ดี โดยใช้ต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม และมีการวางแผนการตลาดให้กับผลผลิต
                       เพื่อจ้าหน่ายได้ราคาดี รวมทั้งการจัดการศัตรูที่ส้าคัญที่สุดของลองกอง คือหนอนชอนใต้ผิวเปลือก ซึ่ง

                       ถ้าไม่ท้าการป้องกันก้าจัดให้เหมาะสม นอกจากไม่ได้ผลผลิตในปีนั้นแล้วเมื่อหนอนระบาดท้าลายมากๆ
                       ลองกองจะทรุดโทรมจนไม่สามารถให้ผลผลิตในปีต่อมา ดังนั้น จึงควรศึกษาการใช้สารควบคุมแมลง
                       ศัตรูพืชโดยใช้น้้าหมักชีวภาพจากสารเร่งพด. 7 เพื่อลดหรือทดแทนการใช้สารเคมีและผลิตพืช
                       ปลอดภัยแก่ผู้บริโภคอย่างยั่งยืนต่อไป

                                                           วัตถุประสงค์

                          1.  เพื่อศึกษาการใช้น้้าหมักชีวภาพควบคุมแมลงศัตรูพืช (พด.7) ในการควบคุมหนอนชอนใต้ผิว

                              เปลือกลองกองในการผลิตลองกอง
                          2.  เพื่อศึกษาสมบัติดินที่มีการใช้น้้าหมักชีวภาพควบคุมแมลงศัตรูพืช (พด.7) ในการควบคุม
                              หนอนชอนใต้ผิวเปลือกลองกอง
                          3.  เพื่อศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจาการใช้น้้าหมักชีวภาพควบคุมแมลงศัตรูพืช (พด.7) ใน

                              การควบคุมหนอนชอนใต้ผิวเปลือกลองกอง

                                                        ขอบเขตการศึกษา

                              ศึกษาการใช้สารสกัดสมุนไพรในการควบคุมหนอนชอนใต้ผิวเปลือกลองกองและผลกระทบ
                       ของการใช้สารสกัดสมุนไพรต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตลองกอง เปรียบเทียบกับวิธีการเกษตรกร
                       ซึ่งผลส้าเร็จของงานวิจัยสามารถน้าไปขยายผลยังพื้นที่ต่างๆ ได้ เพื่อลดหรือทดแทนการใช้สารเคมี

                                                         การตรวจเอกสาร

                       ลองกอง

                              ลองกองเป็นชื่อของผลไม้เศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ Meliaceae  ชื่อสามัญคือ long

                       kong (ไสว, 2534) ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Aglaia dookkoo Griff.cv. (ส้านักงานมาตรฐานสินคาเกษตร
                       และอาหารแหงชาติ, 2549) ลองกองนั้นเชื่อว่าเป็นผลไม้ที่มีถิ่นก้าเนิดมาจากบริเวณหมู่เกาะมลายู
                       อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และภาคใต้ของไทย (ไสว, 2534)
                              ลองกองเป็นไม้ผลในสกุลเดียวกันกับ ลางสาดและดูกู (ลองกอง, ม.ป.ป.) มีถิ่นก้าเนิดทางแถบ

                       เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในหมู่เกาะชวา เกาะมลายู ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และทางภาคใต้ของ
                       ประเทศไทย ในจังหวัดนราธิวาส และยังมีในประเทศทางแถบซูรินัม เปอร์โตริโก ออสเตรเลีย และ
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16