Page 12 - การใช้น้ำหมักชีวภาพควบคุมแมลงศุตรูพืช พด.7 ในการควบคุมหนอนชอนใต้ผิวเปลือกลองกองเพื่อผลิตลองกอง
P. 12
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
4
ฮาวาย โดยประเทศไทยสามารถผลิตลองกองที่มีคุณภาพได้ดีที่สุด เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมในการ
ปลูกที่เหมาะสม แต่พื้นที่ที่สามารถท้าการปลูกลองกองได้ยังมีจ้ากัด ท้าให้มีผลผลิตน้อย ไม่เพียงพอ
ต่อความต้องการของตลาด จึงท้าให้ผลไม้ชนิดนี้มีราคาสูง และจัดได้ว่าเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่ส้าคัญ
ของประเทศอีกชนิดหนึ่ง (MedThai, 2556) ปัจจุบันมีการขยายพื้นที่ปลูกกันมากในเขตภาคใต้ และ
ภาคตะวันออกเพราะคิดว่าให้ผลตอบแทนสูงแต่ในความจริงแล้วการท้าสวนลองกองจะให้
ผลตอบแทนที่ดี ก็ต่อเมื่อเกษตรกรสามารถจัดสวนลองกองได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ จะต้อง
สามารถผลิตลองกองได้ในปริมาณและคุณภาพที่ดี โดยใช้ต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม และจะต้อง
วางแผนการตลาดให้กับผลผลิต เพื่อให้จ้าหน่ายได้ราคาดี ลองกองเป็นไม้ผลเมืองร้อนที่เจริญเติบโต
และให้ผลผลิตได้ดีในสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส
ความชื้นในอากาศค่อนข้างสูง 70-80 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณน้้าฝน 2,000-3,000 มิลลิเมตรต่อปี
จ้านวนวันที่ฝนตกประมาณ 150-200 วันต่อปี ดินที่ดีควรเป็นดินร่วนปนทรายที่มีอินทรียวัตถุค่อนข้าง
สูง และจ้าเป็นต้องมีแหล่งน้้าเพียงพอที่จะให้น้้ากับต้นลองกองได้ตามเวลา และปริมาณที่ต้องการ
ลองกองเป็นพืชที่ชอบร่มเงาแต่ไม่ชอบลมแรง เพราะถ้าแสงแดดจัดจะท้าให้ใบไหม้ ส่วนลมแรงจะพัด
เอาความชื้นออกจากสวนจึงควรสร้างร่มเงาและปลูกไม้บังลมรอบ ๆ สวน (ลองกอง, ม.ป.ป.)
ในการปลูกลองกองที่ยั่งยืน การเพิ่มมูลค่าผลผลิตและการจัดการระบบปลูกให้มี
ประสิทธิภาพจึงความจ้าเป็นอย่างยิ่ง วิธีการควบคุมทรงพุ่มเป็นอีกวิธีหนึ่งที่แนะน้าให้ใช้กับสวนไม้ผล
โดยทั่วไปเนื่องจากการควบคุมทรงพุ่มที่พอเหมาะนั้นท้าให้ต้นพืชมีขนาดเล็กลงสามารถปลูกได้ใน
ระยะชิด เป็นการเพิ่มจ้านวนต้นต่อพื้นที่ปลูกได้ ท้าให้ต้นพืชได้รับแสงแดดที่ดี การออกดอกติดผลใน
ทรงพุ่มกระจายทั่วต้น กิ่งที่ออกดอกจะรับน้้าหนักผลได้เท่ากัน โครงสร้างแข็งแรง สะดวกในการ
จัดการสวนและการจัดการน้้าในทรงพุ่ม ซึ่งทรงพุ่มที่มีประสิทธิภาพในการให้ผลผลิตเหล่านี้
จ้าเป็นต้องท้าการควบคุมและจัดการตั้งแต่ต้นยังมีขนาดเล็ก จากระบบการท้าสวนเดิมของเกษตรกร
ในภาคใต้นั้นยังไม่มีการจัดการในส่วนของการควบคุมทรงพุ่ม ปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติ ท้า
ให้มีปัญหาในการดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยว การจัดการควบคุมทรงพุ่มในไม้ผลนั้นท้าได้หลายวิธี ทั้ง
การตัดแต่ง การใช้ต้นตอเตี้ยแคระ และการใช้สารเคมี แต่ส้าหรับในลองกองเนื่องจากเป็นพืชที่มีการ
ออกดอกติดผลที่กิ่งขนาดใหญ่ จึงท้าการควบคุมทรงพุ่มได้ยากกว่าไม้ผลที่ออกดอกติดผลที่ปลายกิ่ง
ส้าหรับวิธีการในการควบคุมทรงพุ่มลองกองนั้นสามารถท้าได้โดย (1) การจ้ากัดวัสดุปลูกโดย
การจ้ากัดหน้าดิน ด้วยการปลูกลองกองในท่อกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร สูง 50
เซนติเมตร ในระดับความลึกหน้าดิน 20 เซนติเมตร ซึ่งเป็นระดับที่ต้นลองกองมีการเจริญทั้งส่วนยอด
และรากดีและมีการชักน้าตาดอกได้ดี (2) การเลือกใช้ส่วนขยายพันธุ์ โดยต้นลองกองที่ได้จากการ
เสียบยอดมีการกระจายตัวของการออกดอกที่บริเวณกลางล้าต้นสูง ขณะที่ต้นลองกองจากการเพาะ
เมล็ดให้ผลที่มีขนาดใหญ่ น้้าหนักผลสูง จ้านวนผล/ช่อ และความยาวช่อผลสูง (3) วิธีการควั่นกิ่งทุก 6
เดือน ซึ่งนอกจากสามารควบควบคุมการเจริญเติบโตของต้นลองกองได้แล้ว ยังท้าให้ลองกองผลิตตา
ดอกต่อต้นสูงด้วย (4) การใช้ต้นลองกองเสียบยอดส้าหรับการปลูกระยะชิด 1 x 1 เมตร (5) การราด
สารพาโคลบิวทราโซลอัตรา 6 และ 8 กรัมต่อต้น ในต้นลองกองที่ปลูกระยะ 3x 3เมตร ซึ่งสามารถ
ควบคุมความสูงและเพิ่มจ้านวนใบของลองกองได้ (มงคล, 2550)