Page 30 - รายงานการสำรวจและจำแนกดินเพื่อรองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ำตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551 : กรณีศึกษาลุ่มน้ำน้ำย่าง จังหวัดน่าน
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          20


                  3.8 การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                     ความอุดมสมบูรณ์ของดิน (soil fertility) หมายถึง ปริมาณแร่ธาตุอาหารตามธรรมชาติของดิน ซึ่งได้มาจาก

               การวิเคราะห์ดินทางเคมี ค่าทางเคมีของดินที่น ามาใช้พิจารณา (กองส ารวจและจ าแนกดิน, 2543) ได้แก่
                     3.8.1 ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน (Organic matter: OM) หมายถึง ซากพืชซากสัตว์ที่ก าลังสลายตัว เซลล์
               จุลินทรีย์ ทั้งที่มีชีวิตอยู่และในส่วนที่ตายแล้ว ตลอดจนสารอินทรีย์ที่ได้จากการย่อยสลาย หรือส่วนที่ถูกสังเคราะห์
               ขึ้นมาใหม่ แต่ไม่รวมถึงรากพืช เศษซากพืชหรือสัตว์ที่ยังไม่มีการย่อยสลาย มีหน่วยเป็นร้อยละที่มีอยู่ในดิน

                     3.8.2 ค่าความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน (Cation exchange capacity: CEC) หมายถึง ผลรวมของแคต
               ไออนที่แลกเปลี่ยนได้ ซึ่งแร่ดินเหนียวหรือวัสดุใดๆ ดูดซับไว้ที่พีเอชที่เฉพาะเจาะจง มีหน่วยเป็นเซนติโมลของประจุ
               ต่อกิโลกรัมของดินหรือวัสดุใดๆ
                     3.8.3 ค่าอัตราร้อยละความอิ่มตัวเบส (Base saturation percentage: %BS) หมายถึง สัดส่วนปริมาณเบส

               ที่แลกเปลี่ยนได้ต่อความจุแลกเปลี่ยนแคตไออน หรือผลรวมของเบสที่แลกเปลี่ยนได้กับกรดที่สกัดได้ โดยมีหน่วย
               เป็นอัตราร้อยละ
                     3.8.4 ปริมาณฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ เป็นค่าปริมาณธาตุฟอสฟอรัส และธาตุ
               โพแทสเซียมที่พืชจะสามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้ โดยมีหน่วยเป็นปริมาณธาตุดังกล่าวต่อดินล้านส่วน

                     การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน ได้จากการให้คะแนนระดับของอินทรียวัตถุ ค่าความจุแลกเปลี่ยน
               แคตไอออน ค่าอัตราร้อยละความอิ่มตัวเบส ปริมาณฟอสฟอรัสเป็นประโยชน์ และโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์
               ถ้าอยู่ในระดับต่ า ปานกลาง และสูง ก็ให้คะแนน 1, 2, 3 ตามล าดับ หลังจากนั้นน าคะแนนที่ได้จากค่าวิเคราะห์ดิน

               ทั้ง 5 ชนิดมารวมกัน ถ้ามีผลรวมอยู่ในช่วง 5-7 8-12 และ 13-15 ก็แสดงว่า มีความอุดมสมบูรณ์ของดินอยู่ในระดับต่ า
               ปานกลาง และสูง ตามล าดับ

                  3.9 การประเมินการกร่อนดิน
                     เป็นวิธีการศึกษาและวิเคราะห์การสูญเสียหน้าดินในแต่ละปี การสูญเสียหน้าดินส่วนใหญ่เกิดจากการไหลบ่า

               ของน้ าผิวดินและพัดพาดินไปตามกระแสน้ า การกร่อนดินก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง
               ปัญหาการตื้นเขินของแหล่งน้ า ถ้าเกิดการกร่อนดินที่รุนแรงจะเป็นอันตรายต่อคนและสัตว์เลี้ยง รวมทั้งสร้างความ
               เสียหายแก่บ้านเรือนและพืชพรรณที่เพาะปลูก

                     ในประเมินอัตราการกร่อนดินโดยใช้สมการการสูญเสียดินสากล (Universal Soil Loss Equation: USLE)
               ตามวิธีการของ Wischmeier และ Smith (1978) ดังสมการนี้

                     A = R K L S C P


                        โดย A = ค่าการสูญเสียดินต่อหน่วยของพื้นที่ (ตัน/ไร่/ปี)
                            R = ค่าปัจจัยการกร่อนดินจากฝน
                            K = ค่าปัจจัยความคงทนต่อการถูกการกร่อนดิน

                            L = ค่าปัจจัยความยาวของความลาดชัน
                            S = ค่าปัจจัยความชัน
                            C = ค่าปัจจัยการจัดการพืช
                            P = ค่าปัจจัยการปฏิบัติเพื่อป้องกันการกร่อนดิน

                     ซึ่งสมการการสูญเสียดินสากลในแต่ละปัจจัย (กรมพัฒนาที่ดิน, 2545) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35