Page 28 - รายงานการสำรวจและจำแนกดินเพื่อรองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ำตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551 : กรณีศึกษาลุ่มน้ำน้ำย่าง จังหวัดน่าน
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          18


                        ข้อควรค านึงในการจ าแนกความเหมาะสมของดินส าหรับพืชเศรษฐกิจ คือ การจ าแนกความเหมาะสม
               ไม่ได้เป็นการระบุถึงอัตราการให้ผลผลิต พิจารณาพืชที่ปลูกในฤดูฝนเป็นหลัก โดยชั้นความเหมาะสมของดินแต่ละ

               ชั้น มิได้หมายความว่ามีการจัดการหรือมีการดูแลรักษาที่เหมือนกันเสมอไป ชั้นความเหมาะสมของดินแต่ละชั้นจะมี
               ข้อจ ากัดปลีกย่อยลงไปอีกหรือที่เรียกว่า ชั้นความเหมาะสมของดินย่อย (subclass) และชั้นความเหมาะสมของดิน
               สามารถเปลี่ยนแปลงได้ถ้ามีการปรับปรุงแก้ไขข้อจ ากัดของพืช


                     3.6.2 ลักษณะและสมบัติของดินที่ใช้จ าแนกความเหมาะสมของดินส าหรับพืชเศรษฐกิจ
                        1) สภาพภูมิประเทศ (topography: t)
                        2) เนื้อดิน (soil texture: s)
                        3) ชั้นดินที่มีการชะล้างรุนแรง (albic horizon: b)

                        4) ความลึกที่พบชั้นดานแข็งหรือก้อนกรวดมาก (soil depth to consolidated layer or gravel: c
               หรือ g)
                        5) หินพื้นโผล่ (rock out crop: r)
                        6) ก้อนหินโผล่ (stoniness: z)

                        7) ความเค็มของดิน (salinity: x)
                        8) การระบายน้ าของดิน (drainage: d)
                        9) อันตรายจากการถูกน้ าท่วม (flooding: f)

                        10) อันตรายจากน้ าแช่ขัง (water logging: w)
                        11) ความเสี่ยงต่อการขาดน้ า (risk of moisture shortage: m)
                        12) ความอุดมสมบูรณ์ของดิน (nutrient status: n)
                        13) ปฏิกิริยาดิน (acidity: a, alkalinity: k)
                        14) ความลึกที่พบชั้นดินกรดก ามะถัน (depth to acid sulfate layer: j)

                        15) การกร่อนดิน (soil erosion: e)
                        16) ความหนาของชั้นดินอินทรีย์ (thickness of organic horizon: o)
                        ชั้นความเหมาะสมของดินแต่ละชั้น ยกเว้นชั้นความเหมาะสมที่ 1 จะระบุลักษณะและคุณสมบัติของดิน

               ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตหรือมีผลกระทบต่อผลผลิตของพืชที่ปลูก ลักษณะของดินที่ระบุไว้ในชั้นความเหมาะสม
               ของดินส าหรับปลูกพืชแต่ละชั้น เรียกว่า ข้อจ ากัด (limitation) ซึ่งเมื่อทราบว่าชุดดินนั้นมีลักษณะใดที่เป็น
               ข้อจ ากัดที่รุนแรงที่สุดที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตหรือมีผลกระทบต่อผลผลิตของพืช ก็จะตกอยู่ในชั้น
               ความเหมาะสมนั้น และเมื่อทราบชั้นความเหมาะสมของดินส าหรับการปลูกพืชแล้ว ท าการจ าแนกชั้นความ

               เหมาะสมย่อยลงไปอีกหรือที่เราเรียกว่าชั้นความเหมาะสมของดินย่อย (subclass) โดยระบุชนิดของข้อจ ากัดตัวที่
               รุนแรงที่สุดไว้ท้ายชั้นความเหมาะสมของชั้นดินหลัก (class) ชนิดของข้อจ ากัดหรือลักษณะของดินที่เป็นอันตราย
               หรือท าความเสียหายกับพืช


                  3.7 การจ าแนกความเหมาะสมของดินทางด้านวิศวกรรม
                     เป็นการวินิจฉัยคุณภาพของดินตามข้อจ ากัดของดิน โดยจัดความเหมาะสมของดินในหลายกิจกรรม ตามข้อจ ากัด
               ของดิน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและข้อควรระวังในการปฏิบัติงาน (สุวณี, 2538)
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33