Page 31 - รายงานการสำรวจและจำแนกดินเพื่อรองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ำตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551 : กรณีศึกษาลุ่มน้ำน้ำย่าง จังหวัดน่าน
P. 31

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          21


                     3.9.1 ค่าการสูญเสียดินต่อหน่วยของพื้นที่ (A) เป็นซึ่งได้จากการค านวณโดยการคูณค่าปัจจัยต่างๆ 6 ปัจจัย
               ค่านี้เป็นการประเมินค่าเฉลี่ยรายปีของการกร่อนดินของช่องว่างระหว่างร่องริ้ว (interrill) กับร่องริ้ว (rill) จาก

               พายุฝน (rain storm) ส าหรับพื้นที่ดิน (field sized upland area) ค่านี้โดยทั่วไป ไม่รวมการกร่อนดินจากร่องลึก
               (gully) ริมฝั่งน้ า (stream bank) หรือการพังทลายจากลม แต่ค่า A นี้ จะรวมตะกอนดินที่ถูกพัดพามาก่อนที่จะ
               ถึงตอนล่างของล าน้ า (downslope stream) หรืออ่างเก็บน้ า (reservoir) โดยค่าที่แสดงมีหน่วยเป็นตันต่อไร่ต่อปี
                     3.9.2 ปัจจัยการกร่อนดินจากฝน (rainfall erosivity factors: R-factor) เป็นค่าที่รวมทั้งปัจจัยของน้ าฝน

               และการไหลบ่า (rainfall and runoff erosivity factor) ซึ่งเป็นค่าเฉพาะแห่ง ตามปกติค่า R นี้ จะเป็นค่าแสดง
               ความหมายถึงค่าเฉลี่ยรายปีต่อหน่วยดัชนี การกร่อนดิน (erosion index unit)
                     3.9.3 ปัจจัยความคงทนต่อการกร่อนดิน (soil erodibility factors: K-factor) เป็นค่าปัจจัยความคงทนต่อ
               การถูกกร่อนดิน (soil erodibility factor) เป็นค่าเฉพาะแต่ละชั้นของดิน (soil horizon)

                     3.9.4 ปัจจัยความลาดชันของพื้นที่ (slope length and slope steepness factors: LS-factor) ในการ
               ค านวณค่าปัจจัยความยาวและความลาดชันของพื้นที่ ค านวณตามชั้นความลาดชันที่ได้จากข้อมูลความสูงเชิงเลข
               (Digital elevation model) และจากข้อมูลหน่วยแผนที่ดิน ได้อธิบายที่มาของค่าตัวแปรต่างๆ ดังนี้
                        1) ค่า L คือ ค่าปัจจัยความยาวของความลาดเทในสมการการสูญเสียดินสากล ซึ่งหาได้จากสมการ

                                         m
                           L = (λ / 22.13)
                              λ คือ ระยะทางตามแนวราบของพื้นที่ลาดชัน

                              22.13 คือ ความยาวของแปลงทดลองมาตรฐาน หน่วยเป็นเมตร
                              m คือ ตัวเลขยกก าลังซึ่งผันแปรตามความลาดชัน
                        2) ค่า S เป็นค่าแสดงสัดส่วนของการสูญเสียดินต่อหน่วยความชัน เป็นความสัมพันธ์ระหว่างความชันต่อ
               การกร่อนดินแบบแผ่น (sheet erosion) และการกร่อนดินแบบร่องริ้ว (rill erosion) โดยใช้สมการ Wischmeier
               และ Smith (1978) ส าหรับพื้นที่ลาดชัน 0-9 เปอร์เซ็นต์ คือ

                                                        2
                           S = 0.065 + 0.045 s + 0.0065 s
                        ใช้สมการแนะน าโดย Meijerink (Huizing, 1992) ส าหรับพื้นที่ลาดชันมากกว่า 9 เปอร์เซ็นต์ คือ
                           S = 6.4 (sin {atan (s/100)} 0.75) (cos{atan (s/100)})

                           เมื่อ S คือ ค่าปัจจัยความชัน และ s คือ เปอร์เซ็นต์ความชัน
                     3.9.5 ปัจจัยการจัดการพืช (crop management factors: C-factor) เป็นค่าที่ไม่มีขนาดหรือหน่วย ค่า C
               เป็นค่าที่แสดงความหมายถึงอัตราส่วนของการสูญเสียดิน ระหว่างพื้นที่ที่มีการปลูกพืชชนิดใดชนิดหนึ่งปกคลุมอยู่
               กับพื้นที่ที่ถูกไถพรวนโดยปราศจากพืชคุลมดิน ซึ่งใช้ในการหาค่าความคงทนต่อการถูกกร่อนดิน

                     3.9.6 ปัจจัยการปฏิบัติป้องกันการกร่อนดิน (conservation practice factors: P-factor) เป็นค่าที่ไม่มี
               ขนาดหรือหน่วย ค่า P เป็นค่าที่แสดงความหมายถึงอัตราส่วนระหว่างการสูญเสียดินจากพื้นที่ที่มีการอนุรักษ์แบบ
               ต่างๆ เช่น ท าแนวคันดิน (contouring) การปลูกพืชเป็นแถบ (strip cropping) หรือการท าขั้นบันได (terracing)
               กับการไถพรวนเพาะปลูกขึ้นลงตามความลาดเท

                     กรมพัฒนาที่ดิน (2545) ได้ก าหนดระดับการกร่อนดินไว้ 5 ระดับ โดยก าหนดตามอัตราการสูญเสียดินมี
               หน่วยเป็นตันต่อพื้นที่มีหน่วยเป็นไร่ในระยะเวลาหนึ่งรอบปี (ตัน/ไร่/ปี) ซึ่งแสดงตามตารางที่ 9
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36