Page 19 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำห้วยน้ำเทิน ลำดับที่ พล.2(2556) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำแควน้อย (รหัส 0914) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำน่าน (รหัส 09) พื้นที่ดำเนินการบ้านนาจาน หมู่ที่ 2 ตำบลหนองกระท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         7





                             3.2 การพัฒนาที่ดิน (land  development) หมายถึง  การปฏิบัติการใดๆ  ในอันที่จะท้าให้
                  การใช้ที่ดินบังเกิดผลดี  หรือมีประโยชน์ต่อประชากรและประเทศชาติโดยส่วนรวมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม

                  และการเมือง  มากที่สุดเท่าที่อาจจะเป็นไปได้ หลักการพัฒนาที่ดินสามารถแบ่งออกได้เป็น 2  อย่าง คือ
                  1)  พัฒนาที่ดินที่ยังไม่เคยใช้ประโยชน์ให้มาอยู่ในรูปที่ใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆ  เช่น ด้านเกษตรกรรม

                  อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และที่อยู่อาศัย เป็นต้น 2) พัฒนาที่ดินที่ใช้ประโยชน์อยู่แล้วให้ได้รับประโยชน์

                  หรือผลตอบแทนอย่างเต็มที่  โดยวิธีการพัฒนาและปรับปรุงบ้ารุงดินด้วยวิธีการต่างๆ  (กรมพัฒนาที่ดิน,
                  2553)

                             3.3 เขตพัฒนาที่ดิน (zone  of  land  development) หมายถึง พื้นที่ลุ่มน้้าขนาดเล็ก หรือ

                  พื้นที่ด้าเนินการที่ได้รับการคัดเลือกให้พัฒนา โดยการบูรณาการกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น การส้ารวจและ
                  วางแผนการใช้ที่ดิน การจัดท้าระบบอนุรักษ์ดินและน้้า การพัฒนาแหล่งน้้า การปรับปรุงบ้ารุงดินที่มีปัญหา

                  ต่างๆ อาทิเช่น ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินกรด ดินตื้น ดินทราย ดินอินทรีย์ และพื้นที่ลาดชันสูง รวมทั้งการฟื้นฟู
                  ดินเสื่อมโทรมในพื้นที่ที่ดินขาดอินทรียวัตถุ หรือตามสภาพปัญหาของพื้นที่นั้นๆ โดยมีวัตถุประสงค์

                  เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ตลอดจนเป็นการสาธิตให้
                  เกษตรกรและประชาชนทั่วไปได้เห็นถึงประโยชน์ของการพัฒนาที่ดิน การอนุรักษ์ดินและน้้า การฟื้นฟูและ

                  ปรับปรุงบ้ารุงดิน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551)

                             3.4 การวางแผนการใช้ที่ดิน (land used planning) หมายถึง การวางนโยบายการแบ่งเขต
                  ที่ดินออกไปตามวัตถุประสงค์ต่างๆ (โสภณ, 2521) เป็นกระบวนการด้าเนินงานที่มุ่งแนะน้าและแสดงให้เห็นถึง

                  วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของรัฐในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ดินและทรัพยากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

                  โดยการด้าเนินงานจะต้องมีการพิจารณาต่อเนื่องกันไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ (สมเจตน์,  2524)  และเป็นการ
                  คาดคะเนการใช้ที่ดินตามศักย์ของทรัพยากรดิน โดยมีพื้นฐานจากการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่าง

                  ความต้องการของผู้ใช้ที่ดินกับการตอบสนองของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดให้มีผลตอบแทนสูงสุด
                  ขณะเดียวกันก็เป็นการรักษาทรัพยากรเหล่านั้นไว้ใช้ในอนาคตได้ด้วย (วันชัย และคณะ, 2530)

                             3.5 การใช้ที่ดิน (land  used) หมายถึง การใช้ที่ดินที่เป็นทรัพยากรขั้นพื้นฐานในการผลิต
                  อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ตลอดจนใช้เป็นที่พักผ่อน ที่อยู่อาศัย กักเก็บน้้า หรือใช้ในกิจการอื่นๆ ที่มี

                  ความส้าคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมวลมนุษย์ ทั้งนี้รวมถึงการใช้ที่ดินในปัจจุบันและการใช้ที่ดินในอนาคต

                  ด้วย (วิโรจ, 2531) ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ (2538) ให้ความหมายไว้ว่า การใช้ที่ดินเป็นกิจกรรมของมนุษย์บน
                  พื้นดินและสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ทั้งนี้รวมถึงสิ่งปกคลุมดินเพื่อที่จะสามารถจัดจ้าแนกพื้นที่ได้ทั้งหมด

                  โดยทั่วไปแล้วล้าดับชั้นและสิ่งปกคลุมดินมีด้วยกัน 3  ลักษณะ คือ โครงสร้างทางกายภาพที่มนุษย์สร้างขึ้น

                  ปรากฏการณ์ทางชีวภาพและการพัฒนาทุกประเภท ดรรชนี (2531) และสถิตย์ (2521) ได้กล่าวไว้ว่า การใช้
                  ที่ดิน หมายถึง การน้าที่ดินมาใช้บ้าบัดความต้องการของมนุษย์ในด้านต่างๆ เช่น เกษตรกรรม อุตสาหกรรม

                  พาณิชยกรรม และที่อยู่อาศัย เป็นต้น
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24