Page 15 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำห้วยน้ำเทิน ลำดับที่ พล.2(2556) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำแควน้อย (รหัส 0914) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำน่าน (รหัส 09) พื้นที่ดำเนินการบ้านนาจาน หมู่ที่ 2 ตำบลหนองกระท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         3





                  กับลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยา ธรณีสัณฐาน ประวัติของบริเวณนั้นๆ และชนิดของหินรองรับพื้นที่นั้น เป็น
                  ต้น ดังนั้นถ้าเราทราบว่าแบบรูปทางน้้าในแต่ละบริเวณเป็นแบบใด เราอาจจะคาดคะเนเกี่ยวกับชนิดและ

                  โครงสร้างของหินในบริเวณนั้นๆ ได้แบบรูปทางน้้าที่ส้าคัญมีดังนี้ (อภิศักดิ์, 2541)
                                      1) แบบรูปทางน้้ากิ่งไม้ (dendritic  drainage  pattern)  ประกอบด้วยทางน้้าที่มี

                  สาขาหลายสาย ไหลมาลงทางน้้าสายใหญ่ ท้าให้มีรูปลักษณะคล้ายกิ่งก้านสาขาของต้นไม้ มุมที่ทางน้้าแต่ละ

                  สาขามารวมกัน มีค่าน้อยกว่า 90 องศา ทิศทางการไหลของน้้าไม่เป็นระเบียบแบบรูปทางน้้านี้พบเสมอใน
                  บริเวณที่มีความลาดชันเล็กน้อย มักเกิดในบริเวณที่หินรองรับมีความทนทานต่อการกร่อนใกล้เคียงกัน เช่น

                  หินตะกอนที่วางตัวในแนวระดับ ที่ราบตะกอนลมหอบ (loess deposits) หินอัคนีที่มีเนื้อสม่้าเสมอ เป็นต้น

                  และไม่ขึ้นกับอิทธิพลของโครงสร้างทางธรณีวิทยา
                                      2) แบบรูปทางน้้าร้านเถาองุ่น (trellis drainage pattern) แบบรูปทางน้้าที่มีทาง

                  น้้าสายใหญ่หลายสายไหลขนานกัน โดยมีทางน้้าสาขาไหลมาบรรจบในแนวตั้งฉากกับล้าน้้าสายใหญ่ ณ จุด
                  ต่างๆ และทางน้้าสาขานั้นๆ ยังแต่แขนงออกไปในแนวตั้งฉาก ซึ่งไหลขนานกับทางน้้าสายใหญ่ด้วย ทางน้้า

                  เหล่านี้จะเกิดในบริเวณที่มีชั้นหินเนื้อแข็งสลับชั้นหินเนื้ออ่อน ลักษณะเช่นนี้เกิดจากการมีสันเขา และหุบ
                  เขาวางตัวขนานกัน

                                      3) แบบรูปทางน้้ารัศมี (radial drainage pattern) แบบรูปทางน้้าที่มีทิศทางการ

                  ไหลของน้้าออกจากศูนย์กลาง มีลักษณะเป็นรูปรัศมี มักเกิดในบริเวณที่พื้นที่ตรงกลางสูง โดยเฉพาะพื้นที่
                  โครงสร้างรูปโดมที่เกิดใหม่ๆ ยังไม่มีการกร่อน หรือพื้นที่กรวยภูเขาไฟ

                                      4) แบบรูปทางน้้าตั้งฉาก (rectangular  drainage  pattern)  แบบรูปทางน้้าที่มี

                  ทางน้้าประธาน และล้าน้้าสาขาบรรจบกันเป็นมุมฉากหลายๆแห่ง เนื่องมาจากทางน้้าไหลตามรอยแยก
                  (joint)  หรือรอยเลื่อน (fault)  ท้าให้มีรูปลักษณะคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทางน้้าที่ไหลมารวมกันเป็นมุมฉาก

                  อย่างชัดเจน เรียกว่า sharp rectangular drainage patterns
                                      5) แบบรูปทางน้้าสู่ศูนย์กลาง (centripetal  drainage  pattern)  ลักษณะล้าน้้า

                  สายต่างๆ ในบริเวณนั้นมีแนวคล้ายซี่ล้อจักรยาน โดยมีทั้งแยกออกไปจากศูนย์กลาง (centrifugal)  เช่น
                  ยอดเขาหรือเนินเขาไปทุกทิศทาง และที่ไหลรวมเข้าหาจุดศูนย์กลาง (centripetal) โดยตรงกลางเป็นที่ลุ่ม

                  เช่น บริเวณปากปล่องภูเขาไฟ รูปแบบการระบายน้้าแบบนี้ส่งผลให้ระบายน้้าดี

                                      6) แบบรูปทางน้้าวงแหวน (annular drainage pattern) รูปแบบการระบายน้้า
                  เป็นวงคล้ายวงปีของต้นไม้ แต่วงไม่เชื่อมต่อกัน ทางน้้าไหลตามรอยแยกของชั้นดินตามแนวระดับ มักจะพบ

                  ในภูมิประเทศที่มีโครงสร้างของหินเป็นรูปโดม (dome) ให้การระบายน้้าได้ดีปานกลาง

                                      7) แบบรูปทางน้้าขนาน (parallel drainage pattern) รูปแบบการระบายน้้าแบบ
                  นี้ล้าน้้าสายใหญ่และสายเล็กๆ ไหลขนานกันหรือเกือบขนานกันบางทีมีลักษณะคล้ายหางม้ามักเกิดตามแนว

                  แตกของหินที่ขนานกัน มีความลาดเทค่อนข้างสูง และยังพบในบริเวณแนวแตกของหินที่มีเพียงแนวเดียว
                  ด้วยให้การระบายน้้าดี
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20