Page 82 - หลักการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในเขตพัฒนาที่ดิน
P. 82

77

                  แบบนี้เปนเวลานาน ผิวดินบนจะสูญเสียไปเพียง 1 นิ้ว เทานั้น เพราะเปนการเกิดแบบคอยเปนคอยไปและชา

                  มาก สําหรับชนิดของการชะลางพังทลายโดยธรรมชาติ ไดแก
                                (1) การชะละลาย (Leaching) หมายถึงการชะลางชนิดที่แรธาตุตางๆ ธาตุอาหารและ

                  อินทรียวัตถุถูกทําใหละลาย หรืออยูในสภาพแขวนลอยแลวไหลลงสูสวนลางของหนาตัดดินไปกับน้ําที่ซึม

                  ผาน (Percolation  water)   ซึ่งในที่สุดจะไหลลงสูทะเล และการสูญเสียของดินแบบนี้เกิดขึ้นอยูเปนประจํา
                  และมีบทบาทมากที่สุดในแงของการชะลางพังทลายในธรรมชาติ

                                (2) การชะลางพังทลายที่พื้นผิวดินโดยน้ํา (Surface erosion by water)  หมายถึงการพัดพา

                  หนาดินหรือหินซึ่งขาดพืชพรรณปกคลุมโดยน้ํา การขาดพืชพรรณปกคลุมนั้นเนื่องจากสภาพแวดลอมใน

                  ธรรมชาติ เชน ลม ฟาอากาศ ความสูต่ําของภูมิประเทศ (Topography) ซึ่งเปนปจจัยที่ควบคุมการเจริญเติบโต
                  ของพืช

                                (3) แผนดินเลื่อนหรือดินเลื่อน (Landslides and soil creep)

                                    ก. แผนดินเลื่อน คือ การถลมตัวของแผนดินจากที่สูงลงสูที่ต่ําอยางรวดเร็ว โดยเกิดจาก

                  ปจจัย 3 ประการ ไดแกสภาพความลาดเทของพื้นที่ ดินหรือหินชั้นลางมีการไหลซึมของน้ําชามาก และดิน
                  ชั้นบนไมเกาะกันเนื่องจากการอิ่มตัวดวยน้ํา

                                    ข. ดินเลื่อน คือ การเลื่อนของดินบนที่ถูกน้ําชะจนเปนโคลนลงสูที่ต่ําตามความลาดเท

                  ดวยแรงโนมถวงของโลก แตเนื่องจากยังมีความหนืดระหวางชั้นดินที่มีความชื้นตางกัน ดังนั้น ดินนั้นจึง
                  คอยๆ เลื่อนลงมา โดยปกติแลวดินที่เลื่อนลงมาจะหนาไมเกิน 1 เมตร

                                (4) การพัดพาโดยลม (Wind erosion) ในบริเวณที่มีลมแรงและขาดสิ่งปกคลุมโดยธรรมชาติ

                  ประกอบกับอุณหภูมิสูง เชนในทะเลทรายหรือริมฝงทะเล ลมจะเปนตัวการสําคัญที่กอใหเกิดการสูญเสียดิน
                            การชะลางพังทลายของดินโดยธรรมชาติและการสรางตัวขึ้นมาเปนดิน การเกิดการชะลาง

                  พังทลายในธรรมชาติผันแปรไปตามสภาพแวดลอม และเปนปรากฏการณที่มักพบเกิดขึ้นเสมอในทะเลทราย

                  หรือบริเวณซึ่งปราศจากพืชขึ้นปกคลุม ปจจัยที่สําคัญที่สุดก็คือ ความลาดเทของสภาพพื้นที่ ซึ่งสามารถใช
                  เปนเครื่องมือชี้ชนิดของหนาตัดดินที่เกิดขึ้นในบริเวณที่ถูกการชะลางพังทลายของดินนั้นๆ เชน

                                    ก.  ในพื้นที่ชันมาก ดินจะถูกชะลางและพัดพาไปมาก ดินบนจะเกิดเร็วเพราะวัตถุตน

                  กําเนิดอยูตื้น จึงมีโอกาสสัมผัสกับสิ่งแวดลอมมาก นั่นคือ กระบวนการตางๆ ที่เกี่ยวของกับการเกิดดินก็จะ

                  ดําเนินไปไดอยางเต็มที่ และเนื่องจากความลาดเทสูง ดังนั้น สิ่งที่ถูกชะละลายมาจากดินบนโดยกระบวนการ
                  ที่เรียกวา Eluviation จะไหลลงสูที่ต่ําหมด หนาตัดของดินในที่ลาดชันมากจึงมักจะมีเพียง 2 ชั้น คือ A กับ C

                  เทานั้น

                                   ข.  ในพื้นที่มีความลาดเทไมเกิน 20 เปอรเซ็นต อัตราการเกิดของการชะลางพังทลาย
                  นอยกวาอัตราการเกิดดิน ซึ่งขึ้นอยูกับชนิดของวัตถุตนกําเนิด ในบริเวณเชนนี้จะเกิดหนาตัดดินที่สมบูรณมี

                  ชั้นดินครบถวน ยิ่งดินนี้มีอายุมากขึ้นจะยิ่งมีหนาตัดลึกมากขึ้น
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87