Page 33 - หลักการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในเขตพัฒนาที่ดิน
P. 33

28

                                           5. หลักการใชประโยชนที่ดินเพื่อการเกษตร



                  5.1. สถานการณทรัพยากรที่ดิน

                           ประเทศไทยมีพื้นที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร หรือ 320.7 ลานไร มีภูมิประเทศเปนที่ราบ (Plains
                  หรือ Low  land) ประมาณรอยละ 28 ที่ดอน (Upland) รอยละ 43 และที่สูง (Highland) รอยละ 2 สถานการณ

                  ความตองการที่ดินอันเนื่องมาจากจํานวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นและความหลากหลายของการใชประโยชน

                  ที่ดินไดเพิ่มมากขึ้น   ดินหรือที่ดินนั้นนอกจากจะเปนปจจัยสําคัญในการทําการเกษตรเพื่อยังชีพแลว ยังเปน
                  ทรัพยากรธรรมชาติที่กอใหเกิดผลกระทบตอชีวิตและความเปนอยูของมวลมนุษยมากมาย  ปจจุบันมีการ

                  เสื่อมโทรมลงอยางมาก เนื่องจากไดมีการใชที่ดินและการจัดการดินอยางไมเหมาะสม กอใหเกิดผลกระทบ

                  ทางดานเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดลอม  ปญหาการชะลางพังทลายของดินมีแนวโนมเพิ่มขึ้นจาก 108 ลาน

                  ไร ในป 2524 เปน 134.5 ลานไร หรือเทากับรอยละ 41.95 ของพื้นที่ทั้งประเทศ  กอใหเกิดผลกระทบและเกิด
                  ความเสียหายอยางมาก

                            ในปจจุบันพบวาการใชที่ดินกวาหนึ่งในสามของประเทศไทย อยูในภาคเกษตรกรรม โดยในป

                  พ.ศ. 2541 มีพื้นที่ทําการเกษตรทั้งหมด 174 ลานไร คิดเปนรอยละ 54.5 ของพื้นที่ทั้งประเทศไทย เมื่อเทียบ
                  กับป พ.ศ. 2526 ซึ่งมีพื้นที่การเกษตรเพียง 124 ลานไร (38.8 เปอรเซ็นต) จะเห็นวาพื้นที่เกษตรกรรมในชวง

                  10 กวาปที่ผานมา (ป พ.ศ. 2526 – 2541) มีอัตราเพิ่มขึ้นรอยละ 0.6 ตอป ในขณะที่เนื้อที่ปาไมมีอัตราการ

                  ลดลงรอยละ 1.43 ตอป จากการที่พื้นที่การเกษตรเพิ่มขึ้นจากเดิมรอยละ 52.28 ในป  พ.ศ. 2529 เปนรอยละ

                  54.53 ในป พ.ศ. 2541 โดยพื้นที่ปาไมมีปริมาณลดลงจากเดิมรอยละ 34.55 เปนรอยละ 32.9  ตามลําดับ นั่น
                  แสดงวามีการบุกรุกเขาไปในพื้นที่ปาไมเพื่อทําการเกษตรกรรม (สมเจตน, 2524)

                           การเปลี่ยนแปลงการใชที่ดินของประเทศไทยระหวางป พ.ศ. 2529 ถึงป พ.ศ. 2541 พบวามีการบุก

                  รุกเขาไปในพื้นที่ปาไมหรือปาสงวน เพื่อทําการเกษตร ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุดวยกัน เชน
                                1) พื้นที่เดิมขาดความอุดมสมบูรณ ใหผลผลิตตอไรต่ํา

                                2) พื้นที่เดิมมีความเสื่อมโทรมจนไมสามารถทําการเกษตรได

                                3) จํานวนประชากรเพิ่มขึ้น ทําใหมีความตองการที่ดินเพื่อการประกอบอาชีพมากขึ้น
                                4) ขายที่เดิมและบุกรุกปา

                           ในประเทศไทยพบดินที่มีปญหาซึ่งเกิดขึ้นเองธรรมชาติ และมีลักษณะที่ไมเหมาะสมตอการทํา

                  เกษตรกรรมจํานวนมาก  จากการรวบรวมสามารถจําแนกประเภทดินไดดังตอไปนี้
                                1) ดินเค็มและดินดาง ดินเค็มที่พบในประเทศไทย พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                  มีเนื้อที่ประมาณ 17.8 ลานไร แตเปนดินเค็มจัด 1,311,875 ไร ดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนี้ หากไมมี

                  การจัดการที่ดีจะมีโอกาสขยายตัวไดอีกจนถึง 19.8 ลานไร นอกจากนี้ ยังพบดินบริเวณชายฝงทะเลอีก

                  ประมาณ 23 ลานไร
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38