Page 164 - หลักการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในเขตพัฒนาที่ดิน
P. 164

159

                                       13. การพัฒนาระบบเกษตรยั่งยืนในเขตพัฒนาที่ดิน


                  13.1. การพัฒนาอยางยั่งยืน

                           การพัฒนาอยางยั่งยืน (Sustainable  development)   คือการพัฒนาที่สนองความตองการของคนใน

                  รุนปจจุบัน โดยที่จะตองไมใหกระทบตอความสามารถของคนในรุนอนาคต ในการสนองความตองการของ
                  ตนเอง หรือไมทําใหคนในรุนอนาคตจําตองยอมรอมชอม เพื่อลดความตองการของตนลง ซึ่ง

                  คณะกรรมาธิการโลกวาดวยสิ่งแวดลอมและการพัฒนา (World Commission on Environment and

                  Development) ไดใหความหมายไว และเปนคําจํากัดความที่ยอมรับกันทั่วโลก (meet the needs of the present
                  generation without compromising the ability of future generations to meet their own needs)  การพัฒนา

                  อยางยั่งยืนเปนการพัฒนาที่มุงเนนการสรางความสมดุลระหวางองคประกอบทั้ง 4 ดาน ไดแก

                            (1) การพัฒนา อนุรักษ และฟนฟูระบบนิเวศ
                           (2) การพัฒนาเศรษฐกิจ

                           (3) การพัฒนาและการอนุรักษทางสังคมและวัฒนธรรม และ

                           (4) การพัฒนาทางการเมือง โดยการพัฒนาทุกดานลวนแลวแตมีความสัมพันธและเกี่ยวเนื่องกัน


                  13.2. ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน

                          ในชวงเริ่มตนของการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในประเทศไทย ไดใชคําวา “เกษตรกรรม
                  ทางเลือก” ซึ่งเปนคําที่สื่อความหมายถึงการปฏิเสธระบบเกษตรกรรมแผนใหมหรือเกษตรกระแสหลัก

                  ปจจุบันไดเรียกชื่อกันใหมวา “เกษตรกรรมยั่งยืน” ความหมายของเกษตรกรรมทางเลือก จึงมีความหมาย

                  เชนเดียวกับเกษตรกรรมยั่งยืน นอกจากนี้ อาจคําเรียกอยางอื่นอีก เชน เกษตรกรรมเชิงนิเวศ  เกษตรกรรมเชิง

                  ระบบ เปนตน

                           13.2.1. เกษตรกรรมทางเลือก หมายถึงการผลิตทางการเกษตรและวิถีการดําเนินชีวิตของเกษตรกร
                  ที่เอื้ออํานวยตอการฟนฟู และดํารงรักษาไวซึ่งความสมดุลของระบบนิเวศและสภาพแวดลอม โดยมี

                  ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสังคมที่เปนธรรม สงเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและผูบริโภค

                  รวมทั้งพัฒนาสถาบันทางสังคมของชุมชนทองถิ่น ทั้งนี้เพื่อความผาสุกและความอยูรอดของมวลมนุษยชาติ
                  โดยรวม

                          13.2.2. เกษตรกรรมยั่งยืน หมายถึงแบบแผนของเกษตรกรรมที่รักษาความอุดมสมบูรณของดิน น้ํา

                  และความหลากหลายทางชีวภาพใหดํารงอยูอยางยั่งยืน ควบคูไปกับการรักษาระดับของการผลิตในปริมาณ
                  และคุณภาพที่เพียงพอตอความตองการพื้นฐานของเกษตรกรและผูบริโภค ทั้งนี้เพื่อความมั่นคงของ

                  เกษตรกร ชุมชนและสังคมโดยรวม

                          13.2.3. เกษตรยั่งยืน (Sustainable agriculture) หมายถึงระบบการทําการเกษตรที่ใหความสําคัญกับ

                  ระบบนิเวศ โดยจะตองชวยฟนฟูและอนุรักษทรัพยากรในไรนาและสิ่งแวดลอม ลดการพึ่งพาปจจัยการผลิต
   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169