Page 131 - หลักการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในเขตพัฒนาที่ดิน
P. 131

126

                          ประโยชนของปุยพืชสด พืชปุยสดที่ถูกไถกลบลงดิน เมื่อสลายตัวเปนปุยพืชสดโดยสมบูรณแลวให

                  ประโยชนในดานปรับปรุงบํารุงดิน อนุรักษดินและน้ํา หลายประการดังนี้
                          (1) ลดอัตราการชะลางพังทลายของดิน ชวยทําใหความสามารถในการซึมของน้ําผานชั้นดินเพิ่ม

                  สูงขึ้น

                          (2) ชวยทําใหดินโปรง รวนซุย สะดวกในการไถพรวนและเตรียมดิน
                          (3) สงวนรักษาความชุมชื้นใหแกดิน และเพิ่มการอุมน้ําของดินมากขึ้น

                         (4) เพิ่มประมาณอินทรียวัตถุในดิน ธาตุไนโตรเจนและธาตุอาหารอื่นๆ

                         (5) ชวยบํารุงรักษาความอุดมสมบูรณของดิน

                         (6) เพิ่มความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารของดิน (ซี.อี.ซี) ใหสูงขึ้น ทําใหพืชมีผลตอบสนองตอ
                  การใชปุยเคมีมากยิ่งขึ้น



                               (7) ลดปริมาณการใชปุยเคมีและลดดุลการคากับตางประเทศ

                         (8) เพิ่มผลผลิตของพืชใหสูงกวาเดิม
                         11.2.8. การปลูกพืชแบบไมไถพรวน (No-till cropping system ) หมายถึงการปลูกพืชชนิดใดชนิด

                  หนึ่งลงบนพื้นที่ดิน โดยไมมีการไถพรวนเตรียมดินลวงหนาดังที่เคยปฏิบัติกันทั่วๆ ไป แตใชวิธีการปลูกพืช

                  หรือหยอดเมล็ดพืชลงดินใหแทรกผานซากวัชพืชที่คลุมผิวดินอยูดวย  การใชจอบหรือเสื่อมขุดเจาะดินเปน
                  หลุมเล็กตื้นๆ ไวเทานั้น

                           การปลูกพืชแบบไมไถพรวน บางครั้งเรียก Zero-till  cropping  ซึ่งมักจะนิยมใชควบคูไปกับคําวา

                  Minimum tillage  หรือการไถพรวนนอยที่สุด โดยปกติพืชแบบไมไถพรวนและการไถพรวนนอยครั้งที่สุด มี

                  ผลแตกตางทางดานเตรียมดินนอย เพราะการไถพรวนนอยที่สุด เปนวิธีการไมมีการไถพรวนเตรียมดินดังที่
                  ไดปฏิบัติมาอีกเหมือนกัน แตมีการไถพรวนดินทํารองหรือแนวแถบ (Strip tillage) ในระหวางรองแคบๆทั้ง

                  สองดานยังคงรักษาไวเปนแถบหญาหรือแถบซากวัชพืชที่ปลอยใหคลุมดิน

                           ขอเปรียบเทียบของการปลูกพืชแบบไถพรวนและไมไถพรวน       ปจจุบันความพยายามในอันที่จะ

                  คนควาวิจัยหาวิธีการปลูกพืชใหมๆ เพื่อนํามาใชพัฒนาการเกษตรใหไดผลดี และมีการลงทุนนอย โดยเฉพาะ
                  อยางยิ่งเทคนิคดานการไถพรวนเตรียมดิน ซึ่งไดพบวาการปลูกพืชแบบมีการไถพรวน (Conventional tillage)

                  นั้น แมวาจะมีวัตถุประสงคเพื่อใหดินโปรง รวนซุยอากาศถายเทในดินไดสะดวก เพิ่มชองวางในดินทําใหน้ํา

                  ไหลซึมลงดินงายขึ้น กําจัดวัชพืช และเพิ่มกิจกรรมของจุลินทรียในดิน แตในบางครั้งไถพรวนเตรียมดินอาจ
                  ไมมีความจําเปน  ทั้งนี้เพราะวาการไถพรวนเตรียมดินปลูกพืชติดตอกันทุกปเปนเวลานาน  ทําใหเกิดผลเสีย

                  ตอดิน และสภาวะตาง ๆ ในดินมากกวาการปลูกพืชโดยไมไถพรวนดังนี้
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136