Page 127 - หลักการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในเขตพัฒนาที่ดิน
P. 127

122

                  บํารุงดินตอไปได แตใหปริมาณน้ําหนักสดตอไรต่ํา ไมนิยมใชปลูกเปนปุยพืชสด ไดแก ถั่วเขียว ถั่วพุม ถั่วดํา

                  ถั่วลิสง ถั่วฝกยาว และถั่วแขก เปนตน
                                   3) พืชตระกูลถั่วที่เปนพืชคลุม พืชพวกนี้สวนใหญมักมีการเจริญเติบโตแบบลําตนแผเลื้อย

                  ตามดิน หรือเถาเลื้อยพันตนไมอื่น มีปริมาณเถาและใบมาก โดยทั่วไปมีอายุขามป  ถาทิ้งไวขามปใบจะรวง

                  หลนเปนปุยบํารุงดิน เหมาะสําหรับปลูกคลุมดิน การไถกลบเปนปุยพืชสดทําไดยากลําบาก เพราะเถาของลํา
                  ตนพืชจะเขาไปพันผาลไถแทรกเตอร  ทําใหไถไมลงดิน ดินจึงกลบเศษพืชไมดี ถาไมมีความจําเปนมักจะ

                  เสี่ยงการไถกลบถั่วพวกนี้ทั้งหมด ไดแก ถั่วลาย  พิวราเรีย  คาโลโป  ซีรูเลียม ไซราโตร และอัญชัญ พวกป

                  เดียว ไดแก ถั่วขอและไมยราบไรหนาม

                                    4) พืชตระกูลถั่วไมพุมและไมยืนตน พืชพวกนี้มีการเจริญเติบโตคอนขางสูง กิ่งกานสาขามาก
                  ลักษณะเนื้อไมคอนขางแข็งถึงแข็งมาก  นิยมปลูกเปนแถวถี่ชิตเปนไมบังลม  และพืชปองกันการชะลาง

                  พังทลายดินบนพื้นที่ลาดชัน ไมเหมาะสําหรับไถกลบทั้งตนเปนปุยพืชสด แตการตัดเอากิ่งใบและยอดลงดิน

                  แลวสับกลบเปนปุยพืชสด ไดแก แคฝรั่ง กระถินยักษ คราม ถั่วมะแฮะ และขี้เหล็ก เปนตน

                           (2) พืชที่ไมใชพืชตระกูลถั่ว  พืชจําพวกนี้บางครั้งสามารถทําการไถกลบเปนปุยพืชสดได สวน
                  ใหญสลายตัวใหอินทรียวัตถุแกดินชาๆ ทีละนอย และใหธาตุอาหารอื่นๆ นอยมาก เนื่องจากอินทรียวัตถุที่ได

                  มีการสลายตัวชา และใหปริมาณไนโตรเจนคอนขางนอย การปลูกพืชหลักตามหลังจึงไมเจริญงอกงาม

                  เทากับการใชพืชตระกูลถั่ว ไดแก หญาชนิดตางๆ ทั้งที่ปลูกเปนพืชคลุมดินปองกันการชะลางพังทลายและ
                  พืชอาหารสัตว

                           (3) พืชน้ํา (Hydrophytes)  พืชจําพวกนี้อาศัยและเจริญเติบโตอยูในน้ําหรือลอยอยูบนผิวน้ํา บาง

                  ชนิดมีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศใหปริมาณไนโตรเจน 5-6 กิโลกรัมตอไร ไดแก แหน
                  แดงโดยที่ซากของแหนแดงจะชวยเพิ่มอินทรียวัตถุใหแกดินในปริมาณสูง นอกจากนี้ยังมีพืชน้ําจําพวก

                  ผักตบชวาและจอก ที่สามารถนําซากขึ้นมาไถกลบเปนปุยพืชสด บํารุงดินไดดี

                                การจัดปลูกพืชปุยสด ถาจะใหบังเกิดผลดีดานการบํารุงดินเพิ่มผลผลิตของพืชหลักที่ปลูกตามหลัง
                  การสับกลบ มีหลักควรพิจารณา 3 ประการคือ

                            (1) ดิน ลักษณะของดินที่เหมาะสมตอการปลูกพืชตระกูลถั่ว ไมวาจะเปนการปลูกเพื่อเก็บเกี่ยว

                  ผลผลิตเมล็ด หรือปลูกเพื่อใชเปนปุยพืชสด ควรเปนดินที่ไดรับการปรับปรุงสภาพดีแลว อาทิ ดินเปนกรด

                  ควรใสปูนขาวลงไปลดความเปนกรดของดินเสียกอนจึงจะปลูกพืชปุยสด ถาดินเปนกรดจัดอาจใสปูนขาว
                  หนัก 1 ตันตอไรขึ้นไป ดินกรดปานกลางใสเพียง 500 กิโลกรัม – 1,000 กิโลกรัมตอไร ดินเปนกรดเล็กนอย

                  อาจจะไมใส หรือใสนอยกวา 500 กิโลกรัมตอไร ถาดินเปนพวกดินทรายสวนใหญมักจะขาดธาตุฟอสฟอรัส

                  และซัลเฟอร ควรใสปุยผสมสูตร ที่มีฟอสฟอรัสเปนองคประกอบอยูดวยในอัตรา 10-20 กิโลกรัมตอไร และ
                  ใสปูนยิปซั่ม กอนปลูก 10 วัน อัตรา 10 กิโลกรัมตอไร จะชวยใหพืชเจริญเติบโตเร็วและไดน้ําหนักสดสูง

                             (2) เวลาปลูก ฤดูกาลในการปลูกพืชปุยสดที่เหมาะสมที่สุด ควรจะเปนเวลาตอนตนฤดูฝน

                  ประมาณปลายเดือนเมษายน – ตนเดือนพฤษภาคม และอีกเวลาหนึ่งคือ ปลูกภายหลังการเก็บเกี่ยวพืชหลัก
   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132