Page 43 - ผลสำเร็จของแผนการใช้ที่ดินระดับตำบลแบบบูรณาการในพื้นที่ ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
P. 43
28
3.2 แผนการใช้ที่ดิน และเขตการใช้ที่ดิน
3.2.1 แนวคิดเกี่ยวกับการวางแผน บัณฑิต (2535) กล่าวว่า แผนการใช้ที่ดิน คือ การใช้
ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจ ากัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด หมายถึง การก าหนดขอบเขตบริเวณที่ดิน ตามความ
แตกต่างของล าดับชั้นแห่งการใช้ที่ดินนั้น ๆ โดยพิจารณาจากชนิดของการใช้ที่ดิน ทรัพยากรที่มีอยู่ สภาพ
เศรษฐกิจและสังคม นโยบายของรัฐ ฯลฯ ทั้งนี้ต้องเอื้ออ านวยต่อการพัฒนาและการอนุรักษ์ภายใต้
สภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์ให้การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
เป็นไปอย่างประหยัด เกิดประโยชน์ต่อหน่วยพื้นที่อย่างสูงสุดและสามารถอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้คง
อยู่ได้ในอนาคตอีกด้วย
การวางแผนการใช้ที่ดิน เป็นการใช้ความรู้ทางด้านวิชาการหลายสาขาวิเคราะห์พฤติกรรม
เกี่ยวกับการใช้ที่ดินในอดีต สภาพปัญหาในปัจจุบัน เพื่อก าหนดแนวทางในการคาดคะเนความน่าจะเป็นไป
ได้ของการด าเนินกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ที่ดินในอนาคต โดยพยายามลดความผิดพลาดต่างๆ ที่เกิดขึ้น
ต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ อันมีผลต่อสภาวการณ์ต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
การวางแผนการใช้ที่ดิน จะเป็นการชี้แนะในการตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในที่ดิน
นั้น ๆ ซึ่งเมื่อใช้แล้วจะได้ประโยชน์มากที่สุด จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่รอบ ๆ ตัว การวางแผนการใช้
ที่ดินต้องขึ้นอยู่กับความเข้าใจ ทั้งธรรมชาติของสิ่งแวดล้อมและชนิดของการใช้ที่ดินจะน ามาปฏิบัติ
การวางแผนการใช้ที่ดินจะต้องมีวัตถุประสงค์ที่จ าเพาะเจาะจง อาจถูกก าหนดขึ้นโดยความ
ต้องการของสังคมหรือนโยบายที่เลี่ยงไม่ได้ ซึ่งจะต้องให้เกิดความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดย
ปกติการวางแผนการใช้ที่ดินที่จะใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจ ากัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3.2.2 หลักการวางแผน หลักการวางแผนการใช้ที่ดินต่อไปนี้เป็นการวางแผนเกี่ยวกับการพัฒนา
ชนบทที่เกี่ยวข้องกับการกสิกรรม ป่าไม้ ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ การประมง และการจัดการลุ่มน้ า ทั้งในระดับ
ท้องถิ่นถึงระดับประเทศ ส่วนแผนการใช้ที่ดินเพื่อชุมชน การอุตสาหกรรม ด้านสังคม หรือการพัฒนาสิ่ง
อ านวยความสะดวก หลักการที่จะกล่าวอาจไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรง แต่สามารถใช้เป็นแนวทางได้ใน
ระดับหนึ่ง
1) การวางแผนการใช้ที่ดิน คือเรื่องของเหตุผลกรรมวิธีการวางแผนจะเป็นขั้นตอน
ตามล าดับแห่งเหตุผลและข้อเท็จจริง ซึ่งจะเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาการใช้ที่ดิน การรวบรวม
เก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา
2) การวางแผนการใช้ที่ดินเป็นกรรมวิธียืดหยุ่น ได้การแก้ปัญหาการใช้ที่ดินจึงควรมี
ทางเลือกหลายๆทางให้ผู้ใช้ที่ดินได้มีโอกาสเลือก ทางเลือกที่ดีที่สุดซึ่งขึ้นอยู่กับโอกาสหรือเหตุการณ์ในขณะนั้น
3) การวางแผนการใช้ที่ดินต้องท างานเป็นกลุ่มหรือเป็นทีมการวางแผนการใช้ที่ดินจะต้อง
อาศัยการท างานร่วมกันระหว่างนักวิชาการจากหลายๆสาขา ขนาดของกลุ่มจะขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของ
ทรัพยากรและปัญหา ลักษณะการท างานก็จะต้องไปพร้อมๆ กัน