Page 48 - ผลสำเร็จของแผนการใช้ที่ดินระดับตำบลแบบบูรณาการในพื้นที่ ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
P. 48
33
3) ถามความรู้รวบยอด เป็นการถามความสามารถในการจดจ าข้อสรุป หรือหลักการของเรื่องที่เกิดจาก
การผสมผสานหาลักษณะร่วม เพื่อรวบรวมและย่นย่อลงมาเป็นหลัก หรือหัวใจของเนื้อหานั้น
จ านง (2535) กล่าวว่า การวัดความรู้นั้นส่วนมากนิยมใช้แบบทดสอบ ซึ่งแบบทดสอบนี้เป็นเครื่องมือ
ประเภทข้อเขียนที่นิยมใช้กันทั่ว ๆ ไป แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1) แบบอัตนัย หรือแบบความเรียง โดยให้เขียนตอบเป็นข้อความสั้น ๆ ไม่เกิน 1-2 บรรทัด หรือเป็นข้อ
ๆ ตามความเหมาะสม
2) แบบปรนัย แบ่งเป็น
ก. แบบเติมค า หรือเติมข้อความให้สมบูรณ์ แบบทดสอบนี้เป็นการวัดความสามารถในการหาค า
หรือข้อความมาเติมลงในช่องว่างของประโยคที่ก าหนดให้ถูกต้องแม่นย า โดยไม่มีค าตอบใดชี้น ามาก่อน
ข. แบบถูก-ผิด แบบทดสอบนี้วัดความสามารถในการพิจารณาข้อความที่ก าหนดให้ว่าถูก
หรือผิด ใช่หรือไม่ใช่ จากความสามารถที่เรียนรู้มาแล้ว โดยจะเป็นการวัดความจ าและความคิด ในการ
ออกแบบทดสอบควรต้องพิจารณาถึงข้อความจะต้องชัดเจน ถูกหรือผิดเพียงเรื่องเดียว สั้นกะทัดรัดได้
ใจความ และไม่ควรใช้ค าปฏิเสธซ้อน
ค. แบบจับคู่ แบบทดสอบนี้เป็นลักษณะการวางข้อเท็จจริง เงื่อนไข ค า ตัวเลข หรือ
สัญลักษณ์ไว้ 2 ด้านขนานกัน เป็นแถวตั้ง 2 แถว แล้วให้อ่านดูข้อเท็จจริงในแถวตั้งด้านหนึ่งว่ามีความ
เกี่ยวข้อง จับคู่ได้พอดีกับข้อเท็จจริงในอีกแถวตั้งหนึ่ง โดยทั่วไปจะก าหนดให้ตัวเลือกในแถวตั้งด้านหนึ่ง
น้อยกว่าอีกด้านหนึ่ง เพื่อให้ได้ใช้ความสามารถในการจับคู่มากขึ้น
ง. แบบเลือกตอบ ข้อสอบแบบนี้เป็นข้อสอบที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถวัด
ได้ครอบคลุมจุดประสงค์และตรวจให้คะแนนได้แน่นอน ลักษณะของข้อสอบประกอบด้วยส่วนข้อค าถาม
และตัวเลือก โดยตัวเลือกจะมีตัวเลือกที่เป็นตัวถูก และตัวเลือกที่เป็นตัวลวง ผู้เขียนข้อสอบต้องมีความรู้ใน
วิชานั้นอย่างลึกซึ้ง และรู้วิธีการเขียนข้อสอบ โดยมีข้อควรพิจารณา คือ ในส่วนข้อค าถามต้องชัดเจนเพียง
หนึ่งเรื่อง ภาษาที่ใช้กะทัดรัดเหมาะสมกับระดับของผู้ตอบ ไม่ใช้ค าปฏิเสธหรือปฏิเสธซ้อนกัน และไม่ควร
ถามค าถามแบบท่องจ า และในส่วนตัวเลือกควรมีค าตอบถูกเพียงค าตอบเดียวที่มีความกะทัดรัด ไม่ชี้น าหรือ
แนะค าตอบ มีความเป็นอิสระจากกัน มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเรียงตามล าดับตามปริมาณหรือตัวเลข
ตัวลวงต้องมีความเป็นไปได้และก าหนดจ านวนตัวเลือก 4 หรือ 5 ตัวเลือก
เยาวดี ( 2540 ) กล่าวว่า การวัดความรู้นั้นเป็นการวัดความสามารถของบุคคลในการระลึกนึกถึง
เรื่องราว หรือสิ่งที่เคยเรียนมาแล้วซึ่งค าถามที่ใช้ในระดับนี้ คือความจ ากล่าวโดยสรุป ความรู้ความเข้าใจ
หมายถึง ความทรงจ าในเรื่องราว ข้อเท็จจริงรายละเอียดต่าง ๆ และความสามารถในการน าความรู้ที่เก็บ
รวบรวมมาใช้ดัดแปลง อธิบาย เปรียบเทียบในเรื่องนั้นๆ ได้อย่างมีเหตุผล และความรูความเข้าใจเป็นสิ่งที่
เกี่ยวข้องโดยตรงและรวมถึงการน าความรู้ความเข้าใจไปใช้ในสถานการณจริงไดตามขั้นตอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
ประสบการณ์ของแต่ละบุคคลเป็นส าคัญ