Page 44 - ผลสำเร็จของแผนการใช้ที่ดินระดับตำบลแบบบูรณาการในพื้นที่ ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
P. 44
29
4) การวางแผนการใช้ที่ดินที่เกี่ยวข้องกับหลายๆสาขาการวางแผนการใช้ที่ดินเป็นการ
ท างานที่เกี่ยวข้องกับที่ดินและการใช้ที่ดินทั้งหมด ซึ่งจ าเป็นต้องเกี่ยวข้องกับหลายสาขา เช่น
ทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ด้านวิศวกรรม ด้านการเกษตร สิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็น
ต้น โดยทั่ว ๆ ไปกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจะสนับสนุนกรรมวิธีวางแผนและการปฏิบัติให้เป็นไปตามแผน
5) ความต้องการของมนุษย์ กระตุ้นให้เกิดการวางแผนจ านวนของประชากรที่เพิ่มขึ้น
ประกอบกับความต้องการการใช้ที่ดินของมนุษย์ที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่ทรัพยากรที่ดินมีอยู่อย่างจ ากัด การ
วางแผนการใช้ที่ดินที่เหมาะสมและการเพิ่มประสิทธิภาพของที่ดิน จะเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยตอบสนอง
ความต้องการของมนุษย์ที่เพิ่มขึ้นได้
6) แผนการใช้ที่ดินเป็นการวางล าดับชั้นการวางแผนการใช้ที่ดินอาจท าได้โดยการ
วางแผนจากเบื้องบนมาสู่ระดับล่าง โดยผู้บริการระดับสูงเป็นผู้ก าหนดแผน หรือการวางจากระดับ
ล่างไปสู่ระดับบน ซึ่งผู้ใช้ที่ดินและเจ้าหน้าที่ของรัฐในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการท าแผน โดยเป็นผู้
ศึกษาข้อมูลและปัญหาท้องถิ่น แล้วน าแผนเสนอต่อผู้บริหารระดับสูง
7) แผนการใช้ที่ดินที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อสถานการณ์ปัจจุบันมีการ
เปลี่ยนแปลงไปหรือได้รับข้อมูลใหม่ การติดตามการประเมินผลถูกน ามาใช้วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง
ที่เกิดขึ้นและปัญหาที่ท าให้ต้องปรับปรุงแผนใหม่ ดังนั้นการวางแผนจึงเป็นกระบวนการไม่หยุดนิ่ง
หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา
8) แผนการใช้ที่ดินต้องมีลักษณะผสมผสานแผนการใช้ที่ดินที่ก าหนดออกมาจะต้อง
มีหลายทางเลือก ส าหรับการใช้ที่ดินประเภทหนึ่ง อาจเหมาะส าหรับการใช้ที่ดินอีกประเภทหนึ่งก็ได้
การมีทางเลือกการใช้ประโยชน์ที่ดินหลาย ๆ ทางจะท าให้สามารถตอบสนองความต้องการต่อการใช้
ที่ดินได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
3.3 การบริหารงานแบบบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐ กับเกษตรกร
การบริหารงานแบบบูรณาการ หมายถึง การบริหารการจัดสรรทรัพยากร ความรู้ ความสามารถ
เทคโนโลยี การประสานงานและวิธีการบริหารจัดการ เพื่อให้งาน บรรลุวัตถุประสงค์ โดยรวมกันท าหน้าที่อย่าง
กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว กรมพัฒนาชุมชน (2550) กล่าวว่า ตัวชี้วัดความส าเร็จของการด าเนินการบูรณาการ
ระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพจากกระบวนการที่ถูกพัฒนาภายในองค์กรเพื่อให้ระบบมีการปรับปรุงอย่าง
ต่อเนื่อง ถ้าสามารถท าให้บรรลุผลได้ ระบบจะท าให้ได้รับผลตอบแทนจากทรัพยากรที่ได้รับการพัฒนา
สถานการณ์ในชุมชนยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา เป็นการเปลี่ยนไปสู่ความร่วมมือ
และความขัดแย้งของคน กลุ่ม องค์กรในชุมชน ดังนั้นการท างานพัฒนาภายใต้กระแสที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอด
คงจะท าในแบบเดิมๆ ที่เคยท ากันมานานไม่ได้แล้ว การเปลี่ยนแปลงที่กล่าวถึงนี้ไม่ใช่เฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่
มองเห็นได้ด้วยตา เพียงอย่างเดียวแต่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ในเรื่องความคิดเห็น การเข้ามามีส่วน