Page 42 - ผลสำเร็จของแผนการใช้ที่ดินระดับตำบลแบบบูรณาการในพื้นที่ ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
P. 42

27


                     อยู่และระบบทางมนุษย์  ซึ่งเป็นผู้ก าหนดหรือท าให้เกิดความต้องการในการใช้  การผลิตของเสียรวมทั้งการ

                     ปนเปื้อนของทรัพยากรน้ า อีกทั้งยังเป็นผู้ก าหนดล าดับความส าคัญในการพัฒนา ซึ่งมีผลต่อความต้องการใช้น้ า

                                   3.1.3 การจัดการทรัพยากรป่าไม้
                                                    จากการที่พื้นที่ป่าไม้ลดลงอย่างมาก อันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และ

                     ทรัพยากรป่าไม้ลดลง ในขณะที่ความต้องการใช้ประโยชน์เพิ่มมากขึ้น จึงจ าเป็นต้องอาศัยหลักวิชาการใน

                     การฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้อย่างจริงจัง โดยแยกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่

                                                พื้นที่ป่าอนุรักษ์   ประกอบด้วยพื้นที่ป่าต้นน้ าล าธาร  หรือพื้นที่ลุ่มน้ าชั้นที่ 1
                     อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การจัดการควรมุ่งเน้นที่จะรักษาไว้ส าหรับเป็นป่าป้องกันภัยหรือ

                     เป็นป่าอเนกประสงค์ให้มากที่สุด เนื่องจากเป็นป่าสาธารณะประโยชน์ โดยในการบริหารจัดการจะต้องให้

                     ความส าคัญระดับสูงต่อการป้องกันรักษาป่าที่ยังมีสภาพสมบูรณ์  ส่วนบริเวณที่มีสภาพเสื่อมโทรม
                     โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นแหล่งต้นน้ าล าธาร ควรรีบเร่งแก้ไขปรับปรุงให้มีสภาพดียิ่งขึ้น

                                                พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ  ในชั้นต้นจะต้องให้ความส าคัญกับการป้องกันรักษาป่า ทั้งที่

                     เป็นธรรมชาติและสวนป่า รวมทั้งหาวิธีเพิ่มผลิตผลของป่าไม้ในเนื้อที่ป่าที่เหลืออยู่นี้ให้อ านวยประโยชน์

                     ทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่ประเทศชาติและประชาชนให้มากที่สุด
                                                          นอกจากนี้  การเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ ยังสามารถท าได้ในรูปของการส่งเสริม

                     เกษตรกร ให้ท าการปลูกสร้างป่าตามหัวไร่ปลายนา หรือที่รกร้างว่างเปล่าของตน โดยไม้ที่ปลูกอาจ

                     เป็นไม้ไผ่หรือไม้โตเร็วที่ใช้รอบหมุนเวียนสั้นๆ ทั้งนี้เพื่อจะได้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการปลูกพืชเกษตร
                     อีกส่วนหนึ่งอีกทั้งท าให้เกิดความร่มเย็น  และเป็นแนวกันลมให้แก่พืชสวนไร่นาด้วย  ตลอดจนการ

                     ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนในท้องถิ่น ด าเนินการพัฒนาในรูปของป่าชุมชน โดยท าการปลูก

                     ป่าประเภทไม้ใช้สอยที่โตเร็ว และสามารถขึ้นได้ดีในสภาพพื้นดินของท้องถิ่นนั้น และควรเป็นต้นไม้
                     ที่ใช้ประโยชน์ได้หลายประเภท ตลอดจนการปลูกไม้สมุนไพรในบริเวณที่เป็นที่รกร้างว่างเปล่าหรือ

                     ที่สาธารณประโยชน์ เพื่อใช้ประโยชน์ในท้องถิ่นของตน และเพื่อช่วยรักษาสภาวะแวดล้อม

                                           3.1.4 การจัดการผลผลิตทางการเกษตร
                                         ผลผลิตทางการเกษตรของประเทศไทยของเรานั้นมีมากมายหลายชนิด

                     ผลัดเปลี่ยนกันผลิดอกออกผลตลอดทั้งปี ซึ่งเกิดจากการดูแลเอาใจใส่ของเกษตรกรผู้ผลิต ตั้งแต่การ

                     คัดเลือกพันธุ์พืช การเตรียมพื้นที่เพาะปลูก การให้น้ าและการให้ปุ๋ย การป้องกันก าจัดพืช การเก็บเกี่ยว

                     และการวางจ าหน่าย  อย่างไรก็ตาม  ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นกับการจัดการภายหลังการเก็บเกี่ยวของ
                     ผลผลิตทางการเกษตรของประเทศไทย  ก็คือ  การจัดการทางการตลาด  การจัดการทางการตลาดนี้มี

                     หลายมุมมองแตกต่างกันไป  การตลาดในส่วนที่ค่อนข้างจะใกล้ตัวเกษตรกรค่อนข้างมาก  นั่นก็คือ

                     การจัดการทางการตลาดในรูปแบบที่ตัวเกษตรกรเป็นผู้จ าหน่ายผลผลิตทางการเกษตรเอง คือ เป็นทั้ง

                     ผู้ผลิต ผู้แปรรูป และผู้จ าหน่ายเองในตัวคนๆเดียวกัน
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47