Page 38 - ผลสำเร็จของแผนการใช้ที่ดินระดับตำบลแบบบูรณาการในพื้นที่ ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
P. 38
บทที่ 3
การตรวจเอกสาร
3.1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากร และการจัดการทรัพยากรในด้านต่างๆ
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การด าเนินงานต่อ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการจัดหาการเก็บรักษา การ
ซ่อมแซม การใช้อย่างประหยัดและการสงวนรักษา เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น
สามารถเอื้ออ านวยประโยชน์แก่มวลมนุษย์ได้ใช้ตลอดไปอย่างไม่ขาดแคลนหรือมีปัญหาใด ๆ หรือ
อาจจะหมายถึง กระบวนการจัดการ แผนงานหรือกิจกรรมในการจัดสรรและการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนองความต้องการในระดับต่าง ๆ ของมนุษย์และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดของ
การพัฒนาคือเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ-สังคมและคุณภาพ สิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักการอนุรักษ์ด้วย
การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาดประหยัด และก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม
น้อย ที่สุดเท่าที่จะท าได้ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2532)
3.1.1 การจัดการทรัพยากรดิน
ทรัพยากรที่ดินเป็นสมบัติอันล้ าค่าที่โลกมอบไว้ ให้แก่สัตว์โลกเพื่อการด ารงชีพ
และควรถือว่าเป็นสมบัติอันล้ าค่าของประเทศ ซึ่งมิอาจหาสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาทดแทนได้ หากสูญเสีย
หรือเสื่อมโทรมลง ยิ่งไปกว่านั้นชาติจะเจริญยิ่งใหญ่ได้ต้องมีทรัพยากรที่ดินเป็นพื้นฐาน จึงเป็น
สิ่งจ าเป็นที่ชนในชาติต้องพยายามรักษาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรที่ดินที่มีอยู่ ให้ได้นานที่สุด
เท่าที่จะเป็นไปได้
ในการจัดการทรัพยากรที่ดินให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน ยังคงต้องยึด
หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรทั่วไปที่ว่า “ต้องมีการใช้อย่างฉลาด ใช้อย่างคุ้มค่าสมเหตุผล โดยหลีกเลี่ยง
มิให้เกิดของเสียหรือความเสื่อมโทรมต่อทรัพยากรที่ดินเองและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น ทรัพยากรน้ า
ป่าไม้ สัตว์ป่า พันธุกรรมหรือความหลากหลายทางชีวภาพ ทรัพยากรการท่องเที่ยว ฯลฯ ถ้าเป็นไปได้
ควรจะพิจารณาให้เป็นการใช้ประโยชน์ แบบผสมผสาน (Multiple use) คือรู้จักการใช้ประโยชน์
หลายๆด้านพร้อมกันไป ได้แก่การใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะกับสมรรถนะที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่
เกษตรกรรม อันได้แก่การปลูกข้าว ปลูกพืชไร่ ปลูกไม้ผล ใช้เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ าล าธาร ที่อยู่อาศัยและ
ที่หลบภัยของสัตว์ป่า เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องใช้ให้เกิดประโยชน์แก่คนในประเทศอย่างทั่วถึงและ
ยุติธรรม” ที่กล่าวนี้เป็นการจัดการหรือการอนุรักษ์ทรัพยากรที่ดินโดยพิจารณาเป็นภาพรวม
ดิน (Soil) หมายถึง เทหวัตถุทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนผิวโลก ช่วยค้ าจุนการทรง
ตัวของพืช ประกอบด้วย แร่ธาตุ และอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ มี ลักษณะชั้นแตกต่างกันตามวัตถุต้นก าเนิด
ของดิน แต่มีความสัมพันธ์ต่อกันโดยกระบวนการก าเนิดดิน การกระท าของสภาพอากาศ ระยะเวลา ฯลฯ ดิน
โดยทั่วไปประกอบด้วย แร่ธาตุ อินทรียวัตถุ น้ า และอากาศ ในอัตราส่วนที่แตกต่าง กัน แต่ดินที่เหมาะสมต่อ