Page 40 - ผลสำเร็จของแผนการใช้ที่ดินระดับตำบลแบบบูรณาการในพื้นที่ ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
P. 40
25
การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีการ
เปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรมาโดยตลอด ในอดีตมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตอาหาร
ด ารงชีพ หรือที่เรียกว่า การเกษตรแบบยังชีพ (Subsistence farming) แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นการ
ผลิตเพื่อจ าหน่ายเป็นการเพิ่มพูนรายได้ของเกษตรกรมากขึ้น ถึงแม้มีการขยายกิจการให้มีขนาดใหญ่แต่ก็
ยังคงมีการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรแบบยังชีพอยู่ เนื่องจากเกษตรกรมีความแตกต่างทางด้านความรู้
ความสามารถ และเงินทุน จึงท าให้ลักษณะการใช้ที่ดินแตกต่างกันไปและสามารถแยกประเภทได้ดังนี้
1) การเกษตรแบบยังชีพ เป็นการเกษตรที่ไม่ต้องใช้ความรู้ความสามารถ และเงินทุน
หมุนเวียนมากนัก ใช้พื้นที่ขนาดเล็ก ตัวอย่างที่เด่นชัดคือ การท าไร่เลื่อนลอย
2) การเกษตรแบบการค้า (Commercial agriculture) เป็นการใช้ดินเพื่อการ
เพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์เพียงอย่างเดียวเป็นการเกษตรที่มีแบบแผน และหวังผลเพื่อการค้าส่วนใหญ่
มักเป็นกิจการขนาดใหญ่ ลงทุนมาก เกษตรกรต้องมีความรู้ความสามารถทั้งด้านวิชาการเกษตรเป็น
อย่างดีสามารถจัดหาพื้นที่การเกษตรและจัดรูปที่ดินเพื่อสะดวกในการใช้เครื่องจักรกลและการขนส่ง
อันเป็นปัจจัยส าคัญในการผลิตและระบายผลผลิตออกสู่ตลาด
3) การเกษตรแบบผสม (Diversified agriculture) เป็นการเกษตรที่มีการปลูก
พืชต่างชนิดกัน หรือแบ่งพื้นที่ไว้เลี้ยงสัตว์ประกอบกับการปลูกพืช เป็นการจัดระบบการเกษตรใหม่
เพื่อลดความเสียหายอันเกิดจากการเกษตรแบบการค้า
มนู และคณะ (2537) แบ่งกิจกรรมการใช้ที่ดินเพื่อตอบสนองความต้องการด้าน
ปัจจัย 4 ของมนุษย์ไว้ 4 ประเภท ได้แก่ การใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มีทั้งเพื่อการเพาะปลูกและเลี้ยง
สัตว์ ซึ่งเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ และเป็นแหล่งผลิตปัจจัยส าคัญในการด ารงชีวิต
โดยเฉพาะอาหาร การใช้ที่ดินเพื่อกิจกรรมอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมเศรษฐกิจขั้นที่สองต่อจาก
เกษตรกรรม ซึ่งมีทั้งอุตสาหกรรมที่ใช้ผลิตภัณฑ์ทั้งทางการเกษตรและนอกการเกษตรการใช้ที่ดินเพื่อ
ชุมชน ซึ่งรวมถึงที่อยู่อาศัย ที่ประกอบกิจการพาณิชย์ ตลอดจนที่พักผ่อนในชุมชนการใช้ที่ดินเป็นที่
พักผ่อนหย่อนใจ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวประเภทต่างๆ ซึ่งมีทั้งที่เกิดเองโดยธรรมชาติ เช่น น้ าตก ภูเขา
และที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น เขื่อน สวนสาธารณะ ตลอดจนสถานที่ที่เป็นขนบธรรมเนียม ประเพณี
และวัฒนธรรมท้องถิ่นต่างๆ
ได้ก าหนดพื้นที่ที่เหมาะสมในการเกษตรกรรม โดยจัดแบ่งชั้นคุณภาพตาม
สมรรถนะในการปลูกพืชแต่ละกลุ่ม ดังนี้
พื้นที่เกษตรกรรมชั้นที่ 1 ก าหนดเป็นพื้นที่ควรคุ้มครองเพื่อใช้ในการเกษตรซึ่ง
เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการผลิตทางการเกษตรสูง เหมาะสมกับพืชกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรืออาจปลูกพืช
ได้หลายชนิด ผลผลิตมักมีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของพืชแต่ละชนิด