Page 41 - ผลสำเร็จของแผนการใช้ที่ดินระดับตำบลแบบบูรณาการในพื้นที่ ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
P. 41

26


                                      พื้นที่เกษตรกรรมชั้นที่ 2 ก าหนดเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาและส่งเสริม

                     เพื่อการเกษตรกรรม มีศักยภาพในการผลิตทางการเกษตรปานกลาง อาจต้องมีการปรับปรุงหรือเพิ่ม

                     ความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน โดยการใช้ปุ๋ย หากมีการลงทุนทางเทคโนโลยีในการผลิตช่วยให้ได้

                     ผลผลิตที่ดีขึ้นแต่อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อมโดยรวม
                                      พื้นที่เกษตรกรรมชั้นที่ 3 เป็นพื้นที่ก าหนดให้มีการส่งเสริมหรือฟื้นฟูเพื่อการ

                     เกษตรกรรม เนื่องจากมีศักยภาพการผลิตค่อนข้างต่ าสามารถปลูกพืชได้บางชนิด และผลผลิตที่ได้ต่ า

                     กว่าค่าเฉลี่ยของพืชแต่ละชนิด มีข้อจ ากัดด้านสภาพภูมิประเทศ หากใช้ประโยชน์ที่ดินผิดประเภทอาจ

                     ก่อให้เกิดปัญหาการชะล้างพังทลายของดินได้ง่าย เป็นพื้นที่อาศัยน้ าฝน จ าเป็นต้องมีการลงทุน
                     ปรับปรุงดินสูง และต้องการลงทุนทางเทคโนโลยีในการผลิตเพื่อช่วยให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้นแต่อาจ

                     ก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อมโดยรวมได้ง่าย

                                      พื้นที่เกษตรกรรมชั้นที่ 4  เป็นพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการเกษตรส าหรับการ
                     เพาะปลูกพืชเนื่องจากมีข้อจ ากัดอย่างรุนแรงที่ไม่สามารถเพาะปลูก หรือหากเพาะปลูกอาจส่งผล

                     กระทบต่อสภาพแวดล้อมอย่างรุนแรงเนื่องจากปัญหาคุณสมบัติดิน สภาพภูมิประเทศ ความลาดชัน

                     แหล่งน้ าในการเพาะปลูกแต่สามารถปลูกพืชได้บางชนิด ซึ่งต้องมีการลงทุนสูงแต่จะให้ผลผลิตต่ า
                     ส าหรับบางพื้นที่อาจเหมาะส าหรับการใช้ที่ดินเพื่อกิจกรรมอื่น เช่น การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ า การเลี้ยง

                     สัตว์ ปลูกสวนป่าเศรษฐกิจ นอกจากนี้บางพื้นที่อาจติดข้อจ ากัดในการใช้ประโยชน์อันเนื่องจากเป็น

                     พื้นที่ป่าสงวน และมีข้อจ ากัดทางกฎหมายอื่นๆ

                                    พื้นที่เกษตรกรรมชั้นที่ 5  ก าหนดเป็นพื้นที่อนุรักษ์ตามกฎหมายที่ห้ามใช้ใน
                     การเกษตรต้องการอนุรักษ์ไว้เพื่อความอุดมสมบูรณ์ทางนิเวศและสิ่งแวดล้อม

                                    3.1.2 การจัดการทรัพยากรน้ า

                                              จรรยาภรณ์  (2554)  กล่าวว่า แนวคิดการจัดการทรัพยากรน้ าแบบบูรณาการ
                     เป็นแนวคิดที่พิจารณาการจัดการน้ าในแง่ที่เกี่ยวพันกับทรัพยากรอื่น ๆ ในลุ่มน้ า เช่นเดียวกับแนวคิดเรื่อง

                     การจัดการลุ่มน้ า  ทั้งนี้เพื่อให้การใช้น้ าเกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด  โดยค านึงถึงปัจจัยทาง

                     สิ่งแวดล้อมและมีเป้าหมายให้ได้รับผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมสูงสุด   โดยสรุปแล้ว การจัดการ

                     ทรัพยากรน้ าแบบบูรณาการ  เป็นกระบวนการในการส่งเสริมการประสานการพัฒนาและจัดการทรัพยากรน้ า
                     ทรัพยากรดิน และทรัพยากรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อน ามาซึ่งประโยชน์สูงสุดทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดี

                     ของสังคมอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนของระบบนิเวศน์ การจัดการทรัพยากรน้ าแบบ

                     บูรณาการ มีแนวคิดขั้นพื้นฐานที่แตกต่างจากแนวคิดการจัดการทรัพยากรน้ าแบบดั้งเดิม ที่การจัดการทรัพยากร
                     น้ าแบบบูรณาการนั้นค านึงถึงการจัดการทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน ดังนั้น การบูรณาการจึงสามารถพิจารณาได้

                     ภายใต้สองระบบหลัก คือ ระบบทางธรรมชาติ ซึ่งมีความส าคัญเกี่ยวกับปริมาณและคุณภาพของทรัพยากรที่มี
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46