Page 13 - ศึกษาการใช้อัตราที่เหมาะสมของน้ำหมักชีวภาพเพื่อการเพิ่มผลผลิตของยางพาราบนชุดดินระนองในจังหวัดชุมพร
P. 13

4





                    3. ข้อมูลจังหวัดชุมพร
                           ชุมพรเป็นจังหวัดที่อยู่ทางภาคใต้ตอนบน  มีทิศเหนือติดกับจังหวัดประจวบคิรีขันธ์  ทิศใต้ติดกับ

                    จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ทิศตะวันออกติดต่อกับอ่าวไทย  และทิศตะวันตกติดกับจังหวัดระนองและประเทศ

                    พม่า  มีพื้นที่ทั้งหมด  3,755,630  ไร่  มีสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินประกอบด้วยพื้นที่ท าการเกษตร
                    1,945,399  ไร่


                           3.1 ลักษณะภูมิประเทศ

                           สภาพพื้นที่ของจังหวัดชุมพรแบ่งเป็น 3 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ พื้นที่ราบตอนกลาง พื้นที่ราบชายฝั่ง

                    ทะเล พื้นที่ทางทิศตะวันตกเป็นที่สูงและภูเขา ทิวเขาที่ส าคัญคือ ทิวเขาตะนาวศรี ซึ่งเป็นพรหมแดนทาง
                    ธรรมชาติระหว่างประเทศ ถัดจากแนวที่สูงมาทางด้านตะวันออก เป็นที่ราบตอนกลางซึ่งมีลักษณะเป็นที่

                    ราบลูกคลื่น และที่ราบลุ่ม เป็นเขตเกษตรกรรมที่ส าคัญ ส าหรับพื้นที่ทางตะวันออกเป็นที่ราบชายฝั่งทะเล
                    ยาวประมาณ 222 กิโลเมตร ลักษณะชายหาดของจังหวัดชุมพรค่อนข้างเรียบ มีความโค้งเว้าน้อย ความ

                    กว้างของจังหวัดโดยเฉลี่ย 36  กิโลเมตร


                           3.2 ลักษณะภูมิอากาศ

                           จังหวัดชุมพรเป็นเขตที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออก เฉียง

                    เหนือ เป็นเหตุให้มีฤดูกาลเพียง 2 ฤดู ดังนี้
                           ฤดูร้อน  เริ่มตั้งแต่เดือน  กุมภาพันธ์  -  พฤษภาคม  โดยในช่วงนี้ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของ

                    ภาคใต้ ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

                           ฤดูฝน  เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน  -  มกราคม  ซึ่งเป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่าน
                    อ่าวไทยเข้าสู่ภาคใต้  เป็นมวลอากาศที่มีความชื้นสูง  ดังนั้นเมื่อปะทะแนวเทือกเขาตะนาวศรีจึงท าให้เกิด

                    ฝนตกชุกตลอดพื้นที่จังหวัด  ปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยประมาณ  2,200   มิลลิเมตร (การท่องเที่ยวแห่ง
                    ประเทศไทย, 2557)



                    4. ยางพารา
                           ยางพารามีชื่อชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Hevea brasiliensis Muell. Arg. อยู่ในวงศ์ Euphobiaceae

                    มีชื่อสามัญ ว่า  Para Rubber
                           ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  มีรากเป็นระบบรากแก้ว   ล าต้นกลมตรง ประกอบด้วยส่วนส าคัญ 3

                    ส่วนคือ  เนื้อไม้  ยางพาราจัดเป็นไม้เนื้ออ่อน เนื้อไม้มีสีขาวปนเหลืองอยู่ด้านในกลางล าต้น    มีเยื่อเจริญ

                    เป็นเยื่อบางๆ อยู่โดยรอบเนื้อไม้มีหน้าที่สร้างความเจริญเติบโตให้กับต้นยาง  ส่วนของเปลือกไม้ เป็นส่วน
                    ที่อยู่ถัดจากเยื่อเจริญออกมาด้านนอกสุด ช่วยป้องกันอันตรายที่จะมากระทบต้นยาง เปลือกของต้นยางนี้

                    มีความส าคัญต่อเกษตรกรชาวสวนยางมาก เนื่องจากท่อน้ ายางจะอยู่ในส่วนนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเปลือก
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18