Page 14 - ศึกษาการใช้อัตราที่เหมาะสมของน้ำหมักชีวภาพเพื่อการเพิ่มผลผลิตของยางพาราบนชุดดินระนองในจังหวัดชุมพร
P. 14

5





                    ด้านในที่ติดอยู่เยื่อเจริญจะมีท่อน้ ายางอยู่มากที่สุด  ส่วนใบของยางพารานั้น  เป็นใบประกอบโดยทั่วไป
                    1 ก้านใบจะมีใบย่อย 3 ใบ มีหน้าที่หลักในการปรุงอาหารหายใจและคายน้ า ใบยางจะแตกออกมาเป็นชั้น

                    ๆ เรียกว่า "ฉัตร" ระยะเวลาเริ่มแตกฉัตรจนถึงใบในฉัตรนั้นแก่เต็มที่จะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน ยางจะ

                    ผลัดใบในฤดูแล้งของทุกปี  ยกเว้นยางต้นเล็กที่ยังไม่แตกกิ่งก้านสาขาหรือมีอายุไม่ถึง  3  ปี จะไม่ผลัด
                    ใบ  ดอกยางพารา  มีลักษณะเป็นช่อมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในช่อดอกเดียวกัน ดอกยางท า

                    หน้าที่ ผสมพันธุ์โดยการผสมแบบเปิด  ดอกยางพาราจะออกตามปลายกิ่งหลังจากที่ต้นยางพาราผลัด
                    ใบ  ส่วนของผลยางพารา  มีลักษณะเป็นพูโดยปกติจะมี 3 พู ในแต่ละพูจะมีเมล็ดอยู่ภายใน ผลอ่อนมีสี

                    เขียวผลแก่มีสีน้ าตาลและแข็ง  เมล็ดมีสีน้ าตาลลายขาวคล้ายสีของเมล็ดละหุ่ง  ยาวประมาณ  2-2.5

                    เซนติเมตร กว้างประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร หนักประมาณ 3-6 กรัม เมล็ดยางเมื่อหล่นใหม่ๆจะมี
                    เปอร์เซ็นต์ความงอกสูงมาก แต่เปอร์เซ็นต์ ความงอกนั้นจะลดลงอย่างรวดเร็วในสภาพปกติเมล็ดยางจะ

                    รักษาความ งอกไว้ได้ประมาณ 20 วันเท่านั้น  น้ ายาง เป็นของเหลวสีขาวถึงขาวปนเหลืองขุ่นข้น อยู่ใน
                    ท่อน้ ายางซึ่งเรียงตัวกันอยู่ในเปลือกของต้นยาง ในน้ ายางจะมีส่วนประกอบหลักที่ส าคัญ 2 ส่วนคือส่วนที่

                    เป็น "เนื้อยาง" และส่วนที่ "ไม่ใช่ยาง" ตามปกติในน้ ายางจะมีเนื้อยางแห้งประมาณ 25 - 45 เปอร์เซ็นต์

                    (เอกชัย, 2547)


                    5. ยางพาราพันธุ์ RRIM 600


                           5.1 ลักษณะทั่วไป

                           แม่ – พ่อพันธุ์ : Tjir 1 x PB 86  มีแหล่งก าเนิด ที่ประเทศมาเลเซีย มีการเจริญเติบโตก่อนเปิด

                    กรีดและระหว่างกรีดปานกลาง  ความสม่ าเสมอของขนาดล าต้นทั้งแปลงปานกลาง  การแตกกิ่งและทรง
                    พุ่ม แตกกิ่งช้า กิ่งมีขนาดปานกลาง ทิ้งกิ่งมาก ทรงพุ่มมีขนาดปานกลางเป็นรูปพัด  เริ่มผลัดใบเร็ว ความ

                    หนาเปลือก เปลือกเดิมบาง เปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง   โดยใช้ระบบกรีด ครึ่งล าต้น วันเว้นวัน ส่วน
                    ผลผลิตเนื้อยางแห้ง ในพื้นที่ปลูกยางเดิมให้ผลผลิต 10 ปีกรีดเฉลี่ย 297 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี  ในพื้นที่ปลูก

                    ยางใหม่ให้ผลผลิต 9 ปีกรีดเฉลี่ย 240 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี  มีโรคที่ควรระวัง  ได้แก่  โรคใบร่วงที่เกิดจาก

                    เชื้อไฟทอปโทรา  ยางพาราพันธุ์นี้มีความต้านทานต่อโรคได้น้อย   โรคราแป้ง  มีความต้านทานต่อโรค
                    ปานกลาง  โรคใบจุดนูน  มีความต้านทานต่อโรคปานกลาง  โรคเส้นด า  มีความต้านทานต่อโรคค่อนข้าง

                    ได้น้อย  โรคราสีชมพู  มีความต้านทานต่อโรคค่อนข้างได้น้อย  ส่วนอาการเปลือกแห้ง มีจ านวนต้นยาง
                    แสดงอาการเปลือกแห้งน้อย  มีความต้านทานลมปานกลาง   มีข้อจ ากัดด้านพื้นที่ปลูก คือ สามารถปลูก

                    ได้ในพื้นที่ลาดชัน  ไม่แนะน าให้ปลูกในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มีระดับน้ าใต้ดินสูง  มีข้อสังเกต

                    ข้อแนะน า คือ ไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่มีโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา และโรคเส้นด าระบาดรุนแรง
                    (พูลศักดิ์ และคณะ, 2552)
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19