Page 16 - ศึกษาการใช้อัตราที่เหมาะสมของน้ำหมักชีวภาพเพื่อการเพิ่มผลผลิตของยางพาราบนชุดดินระนองในจังหวัดชุมพร
P. 16

7





                    เซลเซียส เพราะจะท าให้ต้นยางชะงักการเจริญเติบโตดังนั้นการปลูกยางบนที่สูงจึงมีผลต่อการ
                    เจริญเติบโตของต้นยาง  ทั้งนี้เนื่องจากที่ระดับระดับความสูงที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 100 เมตรจะท าให้อุณหภูมิ

                    ลดลง 0.5 องศาเซลเซียส  ยางพาราเจริญเติบโตในแหล่งที่มีฝนตกสม่ าเสมอตลอดปี  และมีปริมาณน้ าฝน

                    เฉลี่ย  2,000  มิลลิเมตรต่อปี  แหล่งปลูกยางพาราของประเทศไทยทั้งภาคใต้และภาคตะวันออก   ส่วน
                    ใหญ่มีปริมาณน้ าฝนมากกว่า  1,400  มิลลิเมตรต่อปี  อย่างไรก็ตาม  ในพื้นที่ที่มีปริมาณน้ าฝนต่ ากว่านี้

                    คือมีปริมาณน้ าฝน 1,200 – 1,400  มิลลิเมตรต่อปี  เช่น  ในพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและ
                    ภาคเหนือ  ก็สามารถปลูกยางพาราไดแต่ทั้งนี้ต้องมีจ านวนวันฝนตกฝนตก   120 - 150 วันต่อปี

                    (กรมวิชาการเกษตร, 2550)


                           6.2 ลักษณะดิน

                           ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกยางพาราควรมีคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีเหมาะสม ซึ่ง
                    คุณสมบัติทางกายภาพ ไดแก ความลึกของหน้าดิน  ปกติต้นยางต้องการดินที่มีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า

                    1  เมตร  โดยไมมีชั้นของหินแข็งหรือดินดานขัดขวางการเจริญเติบโตของราก  มีการระบายน้ าดี  ไม่มีน้ า

                    ขัง และระดับน้ าใต้ดินลึกกว่า  1  เมตร ลักษณะโครงสร้างของกินควรเป็นดินที่มีลักษณะเป็นก้อนเหลี่ยม
                    มุมมน  มีความร่วนเหนียวพอเหมาะ  อุ้มน้ าได้ดีเนื้อดินควรเป็นดินเหนียว  ร่วนเหนียว  ร่วน  หรือรวน

                    ปนทราย กล่าวคือ  ควรมีอนุภาคดินเหนียวอย่างน้อยประมาณ  35 % เพื่อให้ดินสามารถเก็บความชื้น

                    และดูดซับธาตุอาหารได้ดี  และมีอนุภาคดินทรายประมาณ  30% เพื่อให้ดินมีการระบายอากาศดีดินที่มี
                    เนื้อดินเหมาะสมต่อการปลูกยาง ไดแก  ชุดดินอ่าวลึก  ดินเป็นดินเหนียว  ชดดินภูเก็ต  เป็นดินร่วน

                    เหนียวปนทราย  ชุดดินคอหงส์  เป็นดินร่วนทราย  เป็นต้น  สวนดินที่เหมาะสมกับการปลูกยางจะมีเนื้อ

                    ดินเป็นดินทรายซึ่งมีอนุภาคของดินทรายประมาณ  80% ดินลักษณะนี้จะดูดน้ าและธาตุอาหารได้น้อย
                    ท าให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า  และขาดความชื้นในฤดูแลง สวนคุณสมบัติทางเคมีควรเป็นดินที่มีธาตุ

                    อาหารหลัก และธาตุอาหารรองอย่างเพียงพอ  แต่ไม่มากเกินไปจนอาจท าให้เกิดอันตรายกับพืช  ความ
                    เป็นกรดเป็นด่าง  ประมาณ  4.5 - 5.5 และไมเป็นดินเกลือ (กรมวิชาการเกษตร, 2550)



                    7. น้ าหมักชีวภาพ
                           น้ าหมักชีวภาพ หมายถึง  สารอินทรีย์ในรูปของเหลว ที่ได้มาจากการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จาก

                    พืชหรือสัตว์ลักษณะสด โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่  ผลิตภัณฑ์ที่ได้มี
                    ลักษณะเป็นของเหลวสีน้ าตาลซึ่งประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรท (carbohydrates)  กรดอินทรีย์(organic

                    acid)  กรดอะมิโน (amino acid) กรดฮิวมิก (humic acid) น้ าย่อย(enzymes) วิตามิน (vitamins)

                    ฮอร์โมน (growth  hormones) และแร่ธาตุ(minerals) เนื่องจากการย่อยสลายเกิดจากกิจกรรมของ
                    จุลินทรีย์ กรมพัฒนาที่ดินจึงได้ผลิตสารเร่ง พด.2 (ต่อมาพัฒนาเป็นซุปเปอร์ พด.2) ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21