Page 10 - ศึกษาการใช้อัตราที่เหมาะสมของน้ำหมักชีวภาพเพื่อการเพิ่มผลผลิตของยางพาราบนชุดดินระนองในจังหวัดชุมพร
P. 10

1





                                                      หลักการและเหตุผล


                           ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่ส าคัญของประเทศไทย  ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกยางพารา

                    18.76 ล้านไร่ กระจายตามภาคต่างๆ โดยเฉพาะภาคใต้ที่มีพื้นที่ปลูกถึง 11.91 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อย
                    ละ 63 ของพื้นที่ปลูกยางพาราทั้งประเทศ (กรมวิชาการเกษตร, 2555) พื้นที่ดอนที่มีหน้าดินลึกเป็นพื้นที่

                    เหมาะสมที่ปลูกยางพารา แต่ช่วงระยะเวลาประมาณ 10 ปี (พ.ศ.2545 - 2554) ที่ผ่านมา มีการปลูก
                    ยางพาราในพื้นที่ไม่เหมาะสมมากขึ้นหลังจากราคาน้ ายางพาราสูงขึ้น โดยในปี 2545 น้ ายางพารามีราคา

                    เพียง 26.86 บาทต่อกิโลกรัม ต่อมาในช่วงปี พ.ศ.2546 – 2550 ราคาน้ ายางพารามีแนวโน้มสูงขึ้น

                    จนกระทั่ง พ.ศ. 2551 น้ ายางพารามีราคา 79.87 บาทต่อกิโลกรัม แต่ในปี พ.ศ. 2552 เกิดปัญหา
                    เศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ราคาน้ ายางพาราลดลงเหลือ 59.46 บาทต่อกิโลกรัม และเมื่อเศรษฐกิจปรับตัวขึ้น

                    ท าให้ราคาน้ ายางพาราสูงขึ้นถึง 106.22 บาทต่อกิโลกรัม ในปีพ.ศ. 2553 และมีราคา 132.36 บาทต่อ
                    กิโลกรัม ในปีพ.ศ. 2554 (กรมวิชาการเกษตร, 2550;  กรมวิชาการเกษตร, 2555) จากราคายางพาราที่

                    สูงขึ้นดังกล่าวส่งผลให้เกษตรกรหันมาให้ความสนใจปลูกยางพารามากขึ้นแต่เกษตรกรก็พบปัญหาในการปลูก

                    ยางพาราหลายอย่างเช่น ปัญหาการเจริญเติบโตช้า  ปริมาณผลผลิตน้ ายางลดลง ปัญหาโรคแมลง และจังหวัด
                    ชุมพรก็เป็นจังหวัดหนึ่งที่เกษตรกรหันมาสนใจปลูกยางพาราเพิ่มขึ้น

                           กลุ่มชุดดินที่ 51 ชุดดินระนอง เป็น 1 ใน 5 กลุ่มชุดดินที่มีพื้นที่มากในจังหวัดชุมพร เกษตรกร

                    ส่วนใหญ่ปลูกยางพาราเป็นพืชหลัก และกลุ่มชุดดินนี้เป็นดินที่มีปัญหาดินตื้น มีหินโผล่จากชั้นผิวดินเนื้อ
                    ดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ปริมาณอินทรียวัตถุต่ า ดินมีความลาดชัน และมีการระบายของน้ าดี จาก

                    คุณสมบัติดินดังกล่าวท าให้การสูญเสียธาตุอาหารในดินสูง  ท าให้การปลูกยางพาราในพื้นที่นี้ผลผลิตต่ า

                    ดังนั้นการใช้น้ าหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตยางพาราจึงเป็นแนวทางที่น่าสนใจ  เนื่องจากเมื่อเสร็จสิ้น
                    กระบวนการหมักในน้ าหมักชีวภาพจะมีจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพจ านวนมาก  มีสารอินทรีย์ต่างๆ มากมาย

                    เช่น   กรดอินทรีย์  วิตามิน   เอนไซม์  ฮอร์โมนต่างๆ ทั้งที่ท าหน้าที่เป็นสารเร่งการเจริญเติบโตของพืช
                    (plant  growth  promoters) และสารยับยั้งการเจริญเติบโตของพืช (plant  growth  inhibitors) ซึ่งจะช่วย

                    เร่งการเจริญเติบโต และเพิ่มผลผลิตพืช (สมเกียรติ, 2555) จากข้อมูลดังกล่าวจึงเป็นที่มาของงานวิจัยในครั้ง

                    นี้เพื่อจะเพิ่มผลผลิตยางพาราในกลุ่มชุดดินที่ 51 ชุดดินระนอง


                                                         วัตถุประสงค์


                           1. เพื่อศึกษาผลของน้ าหมักชีวภาพต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของดิน

                    ก่อนและหลังการทดลอง
                           2. เพื่อศึกษาอัตราที่เหมาะสมของการใช้น้ าหมักชีวภาพเพื่อการเพิ่มผลผลิตยางพารา

                           3. เพื่อศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการใช้น้ าหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตยางพารา
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15