Page 11 - ศึกษาการใช้อัตราที่เหมาะสมของน้ำหมักชีวภาพเพื่อการเพิ่มผลผลิตของยางพาราบนชุดดินระนองในจังหวัดชุมพร
P. 11

2





                                                       การตรวจเอกสาร


                    1. กลุ่มชุดดินที่ 51
                           ชุดดินที่ส าคัญได้แก่ : ชุดดินห้วยยอด (Ho) ชุดดินคลองเต็ง (Klt) ชุดดินระนอง (Rg) และชุดดิน

                    ยี่งอ (Yg)

                           ลักษณะเด่น : กลุ่มดินตื้นถึงชั้นหินพื้น ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด การระบายน้ าดีถึงค่อนข้างมาก
                    ความอุดมสมบูรณ์ต่ า

                           ปัญหา :  ดินตื้นถึงชั้นหินพื้นภายในความลึก  50  เซนติเมตร  บางพื้นที่มีเศษหินและหินพื้นโผล่
                    กระจัดกระจายอยู่บริเวณหน้าดิน  ความอุดมสมบูรณ์ต่ า  ขาดแคลนน้ า  และในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง

                    มากจะเกิดการชะล้างพังทลายสูญเสียหน้าดิน

                           แนวทางการจัดการ : พื้นที่ที่เป็นดินตื้นมาก มีเศษหินหรือหินพื้นโผล่ ไม่เหมาะสมต่อการเกษตร
                    ควรปล่อยไว้ให้เป็นป่า หรือปลูกไม้ใช้สอยโตเร็ว

                           ปลูกพืชไร่หรือพืชผัก :  เลือกพื้นที่ที่มีหน้าดินหนาและมีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ  จัดระบบ

                    การปลูกพืชหมุนเวียนตลอดทั้งปี  ให้มีการปลูกพืชบ ารุงดินร่วมอยู่ด้วย  ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ย
                    คอก 3 - 4 ตัน/ไร่ หรือไถกลบพืชปุ๋ยสด (หว่านเมล็ดถั่วพร้า 10-12 กิโลกรัมต่อไร่    เมล็ดถั่วพุ่ม 8-10

                    กิโลกรัมต่อไร่หรือปอเทือง  6-8  กิโลกรัมต่อไร่  ไถกลบระยะออกดอก  ปล่อยไว้  1-2  สัปดาห์)  ร่วมกับ
                    ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ า ไถพรวนและปลูกพืชตามแนวระดับ มีวัสดุคลุมดิน ปลูกพืชหมุนเวียน ปลูกพืช

                    สลับเป็นแถบ ท าแนวรั้วหญ้าแฝก พัฒนาแหล่งน้ าและจัดระบบการให้น้ าในแปลง

                           ปลูกไม้ผล :  ขุดหลุมปลูกถึงชั้นหินพื้นหรือขนาด  50x50x50  ซม.  และปรับปรุงหลุมปลูกด้วย
                    หน้าดินที่ไม่เศษหินหรือก้อนหินร่วมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 50 กิโลกรัม/หลุม มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ า

                    เช่น ปลูกพืชคลุมดิน ท าฐานปลูกเฉพาะต้น ท าแนวรั้วหญ้าแฝก ในช่วงเจริญเติบโต ก่อนเก็บผลผลิตและ
                    ภายหลังเก็บผลผลิต  ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ า  ตามชนิดพืชที่ปลูก  พัฒนา

                    แหล่งน้ าและจัดระบบการให้น้ าในแปลงปลูก


                    2. ชุดดินที่ศึกษา

                        ชุดดินระนอง (Ranong series: Rg)

                           การจ าแนกดิน                 Loamy-skeletal, mixed, semiactive, acid,
                                                        isohyperthermic Lithic Udorthents

                           การก าเนิด                   เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่  และ/หรือเคลื่อนย้ายมา

                                                        เป็นระยะ  ทางใกล้ๆ โดยแรงโน้มถ่วงของโลกของหินทราย
                                                        และหินในกลุ่ม

                           สภาพพื้นที่                  ลูกคลื่นลอนลาดถึงเนินเขา มีความลาดชัน 5-35 %
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16