Page 33 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับถั่วพร้าต่อการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในชุดดินนครปฐม
P. 33

21




                  แล้ง  สภาพพื้นที่เป็นที่ดินมีการระบายน้ าได้ดี  ในกรณีที่ปลูกเพื่อไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดในรูปแบบของพืช

                  หมุนเวียนสลับกับพืชหลักจะปลูกในช่วงต้นฤดูฝนก่อนปลูกพืชหลักประมาณ  2  เดือน  อัตราเล็ดที่ใช้

                  2 – 4  กิโลกรัมต่อไร่  (ประชาและคณะ,  2538)  ระยะปลูกที่เหมาะสมในการปลูกแบบลงหลุมคือ
                  50 x 100  เซนติเมตร  อายุไถกลบ 45 – 50  วัน  จะได้น้ าหนักสด  2 – 5  ตันต่อไร่  ให้ปริมาณธาตุอาหาร

                  ไนโตรเจน  10 – 20  กิโลกรัมต่อไร่เทียบกับปุ๋ยยูเรียและแอมโมเนียมซัลเฟตได้ประมาณ  23 – 48  และ

                  47 – 95  กิโลกรัมต่อไร่  ให้ปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน  1.5 – 2.0  เปอร์เซ็นต์  ฟอสฟอรัส  0.3 – 0.5
                  เปอร์เซ็นต์  และโพแทสเซียม 2 – 3  เปอร์เซ็นต์  (พิรัชฌาและคณะ, 2539)  แคลเซียม  1.53  เปอร์เซ็นต์

                  และแมกนีเซียม  2.04 เปอร์เซ็นต์  (ประชาและคณะ, 2545)



                                   5.3 ประโยชน์ของปุ๋ยพืชสดในด้านธาตุอาหารพืช
                                     ประโยชน์ที่ได้จากปุ๋ยพืชสด คือ  เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชพร้อมทั้ง

                  ปริมาณอินทรียวัตถุในดินให้สูงขึ้น

                                    5.3.1 ธาตุอาหารพืชเมื่อท าการไถกลบพืชปุ๋ยสดลงดินที่มีความชุ่มชื้นและมีอุณหภูมิ
                  เหมาะสมกระบวนการสลายตัวของซากพืชจะเริ่มต้นขึ้น  หากพืชปุ๋ยสดนั้นมีไนโตรเจนสูงกว่า

                  2  เปอร์เซ็นต์การปลดปล่อยแอมโมเนียและธาตุอื่นๆจะเริ่มขึ้นทันที  อัตราการสลายตัวของซากพืชและ

                  ปลดปล่อยธาตุอาหารจะเร็วมากในช่วงหนึ่งเดือนหรือสองเดือนแรก  ในช่วงเวลาถัดมาการปลดปล่อย
                  ธาตุอาหารจะยังคงด าเนินต่อไปด้วยอัตราที่ต่ าลง  (Allison,  1973)  ปุ๋ยพืชสดนั้นเมื่อสลายตัวแล้วจะ

                  ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชต่างๆลงสู่ดิน  เป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินท าให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์

                  เพิ่มขึ้น  โดยเฉพาะธาตุอาหารไนโตรเจนและฟอสฟอรัส  ซึ่งจะส่งเสริมให้ผลผลิตของพืชที่ปลูกตามมา

                  สูงขึ้น  (Bin,  1983)  ปุ๋ยพืชสดยังประกอบด้วยธาตุอื่นๆ  เช่น  โพแทสเซียม  แคลเซียม  แมกนีเซียม  และ
                  จุลธาตุอาหาร  ซึ่งหลังจากการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์แล้ว  จากนั้นจะเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุ

                  เหล่านี้  (Nagarajah,  1988,  Ishikawa,  1988)

                                             ปริมาณไนโตรเจนจากพืชตระกูลถั่วที่ถูกสับกลบเป็นปุ๋ยพืชสด  ที่พืชอื่นใช้เป็น
                  ประโยชน์ได้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณไนโตรเจนในรูปของสารอินทรีย์ถูกย่อยสลายและเปลี่ยน

                  ปลงรูปเป็นอนินทรีย์สาร (mineralization) โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน  Bowen  et  al.  (1988)  รายงาน

                  ว่า พืชตระกูลถั่วที่ใช้เป็นปุ๋ยพืชสดเพื่อให้ธาตุอาหารไนโตรเจนแก่พืชที่ปลูกตามมาจะมีการสะสมของ

                                                +
                                                            -
                                                      -
                  ปริมาณอนินทรีย์ไนโตรเจน  ( NH ,  NO ,  NO  )  ในดินหลังจากการไถกลบพืชจะเป็นประโยชน์ต่อ
                                                     3
                                                            2
                                               4
                  พืชในแง่เพิ่มการละลายของธาตุอาหารบางรูปและส่วนที่แพร่สู่บรรยากาศพืชจะน าไปใช้ในกระบวนการ
                  สังเคราะห์แสง  Singh    et  al    (1992)  ในระหว่างการย่อยสลายของอินทรียวัตถุจะปลดปล่อยก๊าซ
                  คาร์บอนไดออกไซด์  ซึ่งสามารถละลายกับน้ าเพื่อท าปฏิกิริยาทางเคมีกับแคลเซียมและแมกนีเซียมเกิด
                  เป็นการประกอบแคลเซียมคาร์บอเนตและแมกนีเซียมคาร์บอเนต
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38