Page 36 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับถั่วพร้าต่อการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในชุดดินนครปฐม
P. 36

24




                  1 กรัม ต่อดิน 1 กิโลกรัม ร่วมกับมูลไก่อัดเม็ด 3 กรัม ต่อดิน 1 กิโลกรัม ให้น้ าหนักสดของข้าวโพดฝัก

                  อ่อนสูงที่สุด และสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว และชุดดินพิมายของต ารับที่ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-

                  15 อัตรา 1 กรัม ต่อดิน 1 กิโลกรัม ร่วมกับมูลไก่อัดเม็ด 1.5 กรัม ต่อดิน 1 กิโลกรัม ให้น้ าหนักสดของ

                  ข้าวโพดฝักอ่อนสูงที่สุด และสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวเช่นเดียวกัน
                                 สิริสุข (2549) ได้ท าการศึกษาผลของการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีที่มีต่อผลผลิตของข้าว

                  พันธุ์สุพรรณบุรี 60  และการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดิน โดยได้ก าหนดอัตราไนโตรเจนตามที่เกษตรกร
                  ใช้กับข้าว คือ 6.3 กก.Nต่อไร่ (ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 อัตรา 25 กก.ต่อไร่ และปุ๋ยยูเรียสูตร 46-0-0 อัตรา

                  5  กก.ต่อไร่)  1ก าหนดต ารับการทดลอง 17  ต ารับ จากผลการทดลอง พบว่า การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับ

                  ปุ๋ยเคมีเท่ากับ 1.5  N ในสัดส่วน 1N  +  1/2N  จะให้องค์ประกอบผลผลิตข้าวโพดโดยรวมดีที่สุด

                  นอกจากนี้ชนิดของอินทรีย์มาจากมูลไก่จะให้องค์ประกอบผลผลิตสูงกว่าที่มาจากมูลโคและกากตะกอน
                  อ้อย การใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพียงอย่างเดียว และใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีท าให้ค่า pH ปริมาณอินทรียวัตถุ

                  ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน ปริมาณฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินหลังปลูกข้าว

                  สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใส่และใส่ปุ๋ยเคมี 1 N
                                 กริช (2551) ศึกษาผลของการใส่มูลสัตว์ร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของ

                  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์สุวรรณ 4452 ใน 3 ฤดูปลูก (ชุดดินก าแพงแสน) โดยก าหนดอัตราไนโตรเจนตาม

                  ค าแนะน าการใช้ปุ๋ยของกรมวิชาการเกษตรส าหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ คือ   8  กก.Nต่อไร่  (ปุ๋ยเคมีสูตร
                  16-16-8 อัตรา 50 กก.ต่อไร่) ก าหนดให้เท่ากับ 1N  จากผลการทดลองทั้ง 3 ฤดูปลูกพบว่า ต ารับควบคุมมี

                  การเจริญเติบโตและผลผลิตเมล็ดข้าวโพดต่ ากว่าทุกต ารับที่มีการใส่ปุ๋ย  ต ารับที่ใส่มูลไก่ 1N ให้ผลผลิต

                  สูงกว่าต ารับที่ใส่มูลวัว 1N ในทุกฤดูปลูกและสูงกว่าต ารับที่ใส่ปุ๋ยเคมี 1N  ในฤดูปลูกที่ 1 ส่วนในฤดู
                  ปลูกที่ 2  และ 3  นั้น ต ารับที่ใส่มูลไก่และปุ๋ยเคมีให้ผลผลิตใกล้เคียงกัน การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนปุ๋ยเคมี

                  จาก 1/4N  เป็น  1/2N ต่อผลผลิตของกลุ่มต ารับที่ใส่มูลสัตว์ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 1N พบว่า มีค่าเพิ่มขึ้นใน

                  กลุ่มต ารับมูลโคในทุกฤดูปลูกและในกลุ่มต ารับมูลไก่ในฤดูปลูกที่ 3 ส่วนในฤดูปลูกที่ 2 มีค่าใกล้เคียงกัน

                  และในฤดูปลูกที่ 1  มีค่าลดลง ต ารับที่ใส่มูลไก่ 1N  ต ารับที่ใส่ปุ๋ยเคมี 1N และต ารับที่ใส่มูลไก่ 1N
                  ร่วมกับปุ๋ยเคมี 1/2N ให้ผลผลิตสูงที่สุดในทุกฤดูปลูกที่ 1 2 และ 3 ตามล าดับ

                                 ธนพัฒน์ (2552)  ศึกษาผลของการใส่มูลกระบือ ม้า แกะ และแพะ ร่วมกับปุ๋ยเคมี

                  (20-10-15) ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของคะน้าในโรงเรือนปลูกพืช โดยหมักมูลสัตว์กับดินที่ระดับ

                  ความชื้นสนามนาน 5  สัปดาห์ ก่อนปลูกพืช ในสัดส่วนมูลสัตว์:ปุ๋ยเคมีเท่ากับ 1N:0N    3/4N:  1/2N  ,
                  1/2N:2N  และ 1/4N: 3/4N เปรียบเทียบกับปุ๋ยเคมี 1N  โดย 1N = 20 กก.N/ไร่  ผลการทดลองพบว่า กลุ่ม

                  ต ารับมูลม้ามีการเจริญเติบโตแลผลผลิตของคะน้าดีกว่ามูลสัตว์ที่ใช้ในการทดลองทั้งหมด การเพิ่ม

                  สัดส่วนของการใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับมูลสัตว์ให้ผลผลิตคะน้าดีขึ้น และต ารับที่ใส่มูลม้า 1/4N ร่วมกับปุ๋ยเคมี
                  3/4N ให้ผลผลิตมากที่สุดและมากกว่าต ารับปุ๋ยเคมี
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41