Page 38 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับถั่วพร้าต่อการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในชุดดินนครปฐม
P. 38

26




                                 กมลาภา (2549) การศึกษาผลของปุ๋ยพืชสดตระกูลถั่วต่อสมบัติทางเคมีและชีวภาพของดิน

                  และผลผลิตข้าวโพดหวานในชุดดินปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พบว่า ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า และปอเทือง มี

                  ศักยภาพในการสะสมธาตุอาหารไนโตรเจน 11.67   13.78 และ  10.90  กิโลกรัมต่อไร่ ตามล าดับ และมี
                  อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน เท่ากับ 21  16  และ  25 ตามล าดับ เมื่อสับกลบเป็นปุ๋ยพืชสดท าให้

                  น้ าหนักผลผลิตข้าวโพดหวานเพิ่มขึ้นแตกต่างจากวิธีการไม่ใส่ปุ๋ย โดยถั่วพุ่มมีเปอร์เซ็นต์การเพิ่มสูงสุด

                  คือ 44.69% ถั่วพร้า 44.27%  และปอเทืองใกล้เคียงกับยูเรีย คือ เพิ่มขึ้น  39.23%  และ 33.98% ตามล าดับ
                  การใช้ปุ๋ยพืชสดมีแนวโน้มท าให้ความหนาแน่นรวมของดินลดลง  ปริมาณอินทรียวัตถุและธาตุอาหารสูง

                  กว่าการใช้ยูเรียและไม่ใส่ปุ๋ย ส่วนการเปลี่ยนแปลงของปริมาณอนินทรีย์ไนโตรเจน ปริมาณจุลินทรีย์

                  ก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นมีความสัมพันธ์เชิงบวก และมีปริมาณเพิ่มขึ้นสูงสุดระหว่างวันที่

                  7-14 วัน หลังการสับกลบพืชปุ๋ยสด โดยวิธีการใช้ปุ๋ยพืชสดมีปริมาณไนโตรเจนสูงกว่าการใช้ปุ๋ยยูเรียและ
                  ไม่ใส่ปุ๋ย โดยเฉพาะถั่วพร้ามีปริมาณอนินทรีย์ไนโตรเจนสุทธิที่สะสมในดินเฉลี่ยตลอดระยะเวลา 90 วัน

                  สูงสุด คือ 305.63 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม รองลงมาได้แก่ ปอเทือง ถั่วพุ่ม ยูเรีย และไม่ใส่ปุ๋ย มีปริมาณโดย

                  เฉลี่ย 289.68, 236.82, 191.63 และ 168.70  มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามล าดับ
                                 ณัฐา (2550) ศึกษาการสะสมไนโตรเจนในถั่วเขียว ถั่วเหลือง และถั่วลิสง เพื่อใช้เป็นพืชปุ๋ย

                  สด ส าหรับข้าวโพดฝักอ่อนที่ปลูกในกระถางในชุดดินปากช่อง พบว่า ถั่วเขียวมีการสะสมไนโตรเจน

                  รวมทั้งหมดในปริมาณมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ถั่วลิสง และถั่วเหลือง ตามล าดับ เมื่อสับกลบถั่วทั้งสาม
                  ชนิดเป็นปุ๋ยพืชสด พบว่า การใช้ปุ๋ยพืชสดสามารถเพิ่มอินทรียวัตถุ  ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดในดิน

                  ปริมาณแอมโมเนียไนเตรทในดินสูงขึ้นมากกว่าการไม่ใช้ปุ๋ยพืชสด และส่งผลให้ข้าวโพดฝักอ่อนมีความ

                  สูง เส้นรอบวงล าต้น น้ าหนักฝัก น้ าหนักตอซัง ความเข้มข้นไนโตรเจนและปริมาณการดูดใช้ไนโตรเจน
                  ทั้งในฝักและตอซัง เพิ่มขึ้นมากกว่าการไม่ใช้ปุ๋ยพืชสด โดยการใช้ปุ๋ยพืชสดถั่วเขียวและปุ๋ยพืชสดถั่วลิสง

                  ท าให้ข้าวโพดฝักอ่อนมีการเจริญเติบโตและผลผลิตสูงกว่าการใช้ปุ๋ยพืชสดถั่วเหลือง ส่วนต ารับการ

                  ทดลองที่มีการใช้ปุ๋ยเคมี N  และปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมี N  มีแนวโน้มให้ผลที่ใกล้เคียงกับการใช้

                  ปุ๋ยพืชสดเพียงอย่างเดียว
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43