Page 32 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับถั่วพร้าต่อการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในชุดดินนครปฐม
P. 32

20




                                      3) พืชตระกูลถั่วคลุมดิน  ซึ่งมีทั้งประเภทเถาเลื้อย  เช่น  คาโลโปโกเนียม และประเภท

                  พุ่มเตี้ย  เช่นถั่วเวอราโน  มักใช้เป็นพืชคลุมดินและอาหารสัตว์  การไถกลบพืชพวกเถาเลื้อยอาจมีปัญหา

                  เถาพืชพันผานไถ
                                      4)  พืชตระกูลถั่วประเภทไม้พุ่มและไม้ยืนต้น  ใช้ปลูกเป็นแถวชิดเพื่อเป็นแนวกันลม

                  และป้องกันการกร่อนดินในที่ลาดชัน  เช่น  กระถินและแคฝรั่ง  อาจตัดกิ่งก้านและใบมาคลุมดินหรือ

                  ไถกลบเป็นพืชปุ๋ยสด


                                      กรมพัฒนาที่ดิน  (2541) ได้แนะน าพืชตระกูลถั่วซึ่งควรใช้ท าปุ๋ยพืชสด  ดังนี้

                                1) ถั่วพุ่ม  (cow    pea)  มีหลายชนิด  (species)  เช่น  ถั่วพุ่มแดงหรือถั่วพุ่มลาย  (Vigna

                  sinensis) และถั่วพุ่มด า  (Vigna  unguiculata)  พืชเหล่านี้ปลูกได้ตลอดปีแต่ช่วงที่เหมาะสมคือ  ต้นฤดูฝน
                  ระบบการปลูกมี  2  แบบคือ  ปลูกก่อนพืชหลักแล้วไถกลบเมื่ออายุ  45 – 60  วัน  พร้อมกับเตรียมดินเพื่อ

                  ปลูกหลังการไถกลบ  12 – 15  วัน  และปลูกแซมระหว่างแถวพืชหลัก  หลังจากปลูกพืชหลักไปแล้ว

                  ประมาณ  2  สัปดาห์  ถั่วพุ่มให้น้ าหนักสด  1 – 4   ตัน/ไร่  ให้ไนโตรเจน  10 – 20  กิโลกรัม/ไร่  ส่วน
                  เหนือดินมีธาตุอาหารหลักคิดต่อน้ าหนักแห้งดังนี้  2.00 – 2.89 %N,   0.50 – 0.58 %P,  2.50 – 3.51 %K

                                2) ถั่วพร้า  (Canavalia  spp.)  จัดเป็นพืชในวงศ์  Leguminosae  มีอยู่  2  ชนิดคือ  ถั่วพร้า

                  เมล็ดขาวมีชื่อสามัญว่า  jack  bean  และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Canavalia  ensiformis  และถั่วพร้าเมล็ด
                  แดง  มีชื่อสามัญว่า  sword  bean  และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Canavalia  gladiate  เป็นพืชล้มลุกล าต้นเป็น

                  พุ่มมีล าต้นสูงประมาณ  60 – 120  เซนติเมตร  มีรากลึก  ถั่วพร้าขึ้นได้ดีในดินที่มีการระบายน้ าดี  ไม่ชอบ

                  น้ าขัง  ถ้าน้ าขังเกิน  3  วันจะเน่าตาย  ทนต่อสภาพแห้งแล้ง  เจริญเติบโตได้ดีในดินเค็มเล็กน้อยและในที่
                  ร่มโดยใช้ในรูปแบบพืชหมุนเวียน  พืชแซม  ถ้าปลูกในระบบพืชหมุนเวียนจะปลูกก่อนการปลูกพืชหลัก

                  เช่น  ข้าวโพด  มันส าปะหลัง  อ้อย  อย่างน้อยประมาณ  60 – 75  วัน  คือปลูกในช่วงฤดูฝน  ถ้าปลูกแซม

                  จะปลูกระหว่างแถวพืชหลัก  โดยปลูกหลังจากพืชหลักเจริญเติบโตพอสมควร  ประมาณ  1 – 2  สัปดาห์

                  ช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมคือช่วงต้นฤดูฝน  อัตราเมล็ดที่ใช้  10 – 20  กิโลกรัมต่อไร่  การปลูกแบบหว่าน
                  ต้องมีการไถเตรียมดิน  การปลูกแบบหยอดเป็นหลุมระยะปลูกที่เหมาะสมคือ  50  x  50    เซนติเมตร

                  ระยะเวลาในการไถกลบ  คือ  45 – 60  วัน  การไถกลบควรไถขณะที่มีความชื้นอยู่ในดินพอสมควรจะได้

                  น้ าหนักสด  1 – 3  ตันต่อไร่  (ประชาและคณะ,  2538)  และให้ปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน  2.0 – 3.0

                  เปอร์เซ็นต์  ฟอสฟอรัส  0.3 – 0.4 เปอร์เซ็นต์  และโพแทสเซียม 2 – 4  เปอร์เซ็นต์  (พิรัชฌาและคณะ,
                  2539)  แคลเซียม  1.19 เปอร์เซ็นต์และแมกนีเซียม  1.56 เปอร์เซ็นต์  (ประชาและคณะ, 2545)

                                3) ปอเทือง  (Crotalaria    juncea)  เป็นพืชเส้นใยที่ปลูกกันมากในอินเดียเพื่อใช้เป็น

                  ปุ๋ยพืชสดจัดเป็นพืชในวงศ์   Leguminosae    มีชื่อสามัญว่า  sunnhemp      เป็นพืชฤดูเดียว  ล าต้นตั้งตรง
                  แตกกิ่งก้านสาขามาก  สูงประมาณ  180 – 300  เซนติเมตร  ขึ้นได้ดีในสภาพอากาศทั่วๆไป  สามารถทน
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37