Page 66 - การศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพและเคมีของดินบริเวณพื้นที่ปลูกป่าของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
P. 66

49


                             เมื่อมีการปลูกป่าขึ้นทดแทนบนพื้นที่ป่าซึ่งถูกน าไปใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรมแล้ว

                      ปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า คุณสมบัติของดินย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปทั้งทางเคมีและกายภาพ ในการ
                      เก็บตัวอย่างดินแบบ Undisturbed  and Disturbed  ของดิน 4  ชนิดได้แก่ Dry  red  yellow  podzolics

                      soil, Slightly dry red yellow podzolic soil, Moderately moist red yellow podzolic soil and Low

                      humicgley  soil  ที่มีการปลูก พยุง,  สัก,  กระถินณรงค์ และยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซีส บนพื้นที่
                      ดังกล่าวตามล าดับ บริเวณโครงการวิจัยและฝึกอบรมการปลูกสร้างสวนป่า อ าเภอปักธงชัย จังหวัด

                      นครราชสีมา เพื่อต้องการทราบการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของดินที่เปลี่ยนแปลง

                      ไป ท าการเก็บตัวอย่างดิน 3 จุด ตามระดับความลึกของดินที่ได้ท าการแบ่งชั้นดินไว้ในดินแต่ละชนิด
                      ทั้งที่มีการปลูกและไม่มีการปลูกป่า

                             พบว่าสมบัติทางเคมีของดิน หลังจากปลูกป่า 10 ปีแล้ว โดยทั่วๆ ไปทุกสภาพพื้นที่ดินแสดง

                      ความเป็นกรดสูง ระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ า-ปานกลาง แต่ดินชั้นบนที่มีอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น

                      ประมาณ 1.33 เปอร์เซ็นต์  เป็น 155.88 เปอร์เซ็นต์  ท าให้ความหนาแน่นและความพรุนของดิน ซึ่ง
                      เป็นสมบัติทางกายภาพที่ส าคัญของดินมีค่าเพิ่มขึ้น เมื่ออินทรียวัตถุเพิ่มขึ้นตามล าดับ ความชื้นของ

                      ดินเพิ่มขึ้นอาจกล่าวได้ว่าในพื้นที่มีการปลูกป่าขึ้นทดแทนท าให้สมบัติทางเคมีและของดินกลับสู่

                      ความสมดุลธรรมชาติได้เร็วกว่าการไม่ปลูกพืชอะไรเลย
                             ณัฐนันท์ พบว่า มวลชีวภาพเหนือพื้นดินมีค่าเท่ากับ 16,140.43 ตันต่อเฮกแตร์และค่าการกัก

                      เก็บคาร์บอนเท่ากับ 8,070.47 ตันคาร์บอนต่อเฮกแตร์  ค่าการกักเก็บคาร์บอนโดยการค านวณจากค่า

                      คาร์บอนของพืชโดยน้ าหนักแห้งโดยวิธี  Dry  combustion  method  พบว่ามีการกักเก็บคาร์บอน

                      ทั้งหมด 7,629.66 ตันคาร์บอนต่อเฮกแตร์


                      3.5 สภาพทั่วไปของป่ าเต็งรัง


                             ป่าเต็งรัง  (Dry    Dipterocarp    Forest)  มีลักษณะเป็นป่าโปร่ง  ต้นไม้มีระยะห่างกันมาก

                      (Richards, 1964)  มีเรือนยอดไม่ต่อเนื่องกัน  เมื่อมองจากที่สูงลงมาจะสามารถมองเห็นพื้นป่าได้โดย
                      มีชั้นเรือนยอด  2  –  3  ชั้น  ขึ้นกับสภาพสังคมและคุณภาพของท้องที่  ซึ่งไม้ชั้นกลางจะมี

                      พื้นที่หน้าตัดมากกว่าไม้ชั้นบนและชั้นล่าง  ในป่าที่ไม่ถูกรบกวนมาก่อนจะมีการปกคลุมของเรือน

                      ยอด  ประมาณ  70  เปอร์เซ็นต์  และแสงอาทิตย์จะส่องถึงพื้นได้ประมาณ  60  –  80  เปอร์เซ็นต์
                      (Sukwong,    1974)    โครงสร้างของป่าเต็งรังประกอบด้วย  ไม้ขนาดกลางและขนาดเล็กขึ้นกระจัด

                      กระจายไม่แน่นทึบ  (เทียม,2508)  ไม้พื้นล่าง  และเถาวัลย์มีน้อย  ไม่ค่อยมีไม้ไผ่  ต้นไม้มีความสูง

                      ประมาณ  8 – 24  เมตร  มักมีกล้วยไม้เกาะติดตามล าต้น  และกิ่งก้าน  ผลัดใบในฤดูแล้งและผลิใบ

                      ใหม่ก่อนฤดูฝนออกดอกหลังจากผลิใบแล้ว  พื้นป่าจะมีหญ้าขึ้นอยู่มาก  รวมทั้งปรงป่า   และปาล์ม
                      จ าพวกแป้งทะเล   ประมาณน้ าฝนในพื้นที่ประมาณ  640-2,030  มิลลิเมตรต่อปี  (Richards,  1964)
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71