Page 61 - การศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพและเคมีของดินบริเวณพื้นที่ปลูกป่าของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
P. 61

44


                      เขตที่วัตถุต้นก าเนิดผุกร่อนได้อย่าง รวดเร็ว แต่การพังทลายช้าถ้าหากปล่อยให้ดินเกิดการพังทลาย

                      ตลอดจะส่งผลท าให้ดินบาง แร่ธาตุอินทรียวัตถุสูญเสียไปด้วย
                             3.2.5. เนื้อดิน

                                  เนื้อของดินจะประกอบไปด้วย กรวด ทราย ทรายแป้ง และเม็ดดินเหนียวถ้าหาก

                             อัตราส่วน
                      การผสมของอนุภาคดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ที่ เหมาะสม จะท าให้ดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การ

                      เพาะปลูกและอัตราส่วนผสมของอากาศ น้ า และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่อยู่ในดินก็ต้องเหมาะสมด้วย

                             3.2.6.ส่วนประกอบทางเคมี
                                  ส่วนประกอบทางเคมีมีอิทธิพลต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน คือแร่ธาตุ ตามปกติแล้ว

                      แร่ธาตุที่ดินขาดแคลนมากแต่มีความจ าเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชคือ “แร่พวกด่าง” ซึ่งเป็นแร่ที่

                      ละลายน้ าได้ง่าย เช่น ไนเตรต โพแทสเซียมและแคลเซียม เป็นต้น แร่บางชนิดผสมอยู่ในดินเพียง

                      เล็กน้อยก็พอต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น คาร์บอน ไนโตรเจน ออกซิเจน ทองแดงฯลฯ ถ้าหาก
                      แร่ธาตุชนิดใดชนิดหนึ่งลดลงหรือขาดแคลนจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช แร่ธาตุบางชนิดถ้า

                      หากพบอยู่ในดินมากเกินไปจะท าให้เกิดมลพิษขึ้น เช่น อะลูมิเนียม สารหนู แบเรียม โครเมียมฯลฯ

                      ตามปกติแล้วพืชส่วนใหญ่จะทนพิษจากแร่ธาตุเหล่านี้ได้ดีกว่าสัตว์

                             3.2.7.สิ่งมีชีวิตในดิน
                                  สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในดินตั่งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงแมลงไส้เดือนจะมีส่วน ส่งเสริมให้

                      ดินมีความอุดมสมบูรณ์ สิ่งมีชีวิตในดินเหล่านี้จะช่วยท าให้โครงสร้างของดินเปลี่ยนแปลงทั้งทาง

                      กายภาพและทางเคมีไส้เดือนและแมลงที่อาศัยอยู่ในดิน
                             3.2.8.ความเป็นกรดเป็นด่าง

                                  ความอุดมสมบูรณ์ของดินจะขึ้นอยู่กับความเป็นกรดเป็นด่างด้วย ทั้งนี้เพราะพืชส่วน

                      ใหญ่จะไม่ชอบดินที่มีฤทธิ์เป็นกรดหรือเป็นด่างที่รุนแรงดินที่มีสภาพเป็นกรดจัดมักจะเหนียว
                      รสเปรี้ยวสีค่อนข้างจาง ส่วนดินที่เป็นด่างจัดจะมีรสฝาดและยากล าบากในการตรวจสอบจากการ

                      สังเกตได้ ดินที่ได้ชื่อว่ามีความอุดมสมบูรณ์จึงต้องมีสภาพความเป็นกรดเป็นด่างไม่ รุนแรงนัก

                             3.2.9. ขุยอินทรีย์
                                  ดินจะมีความอุดมสมบูรณ์หรือไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ที่ผสมอยู่ใน ดิน ตาม

                      ธรรมดาแล้วดินที่มีปุ๋ยอินทรีย์ผสมอยู่เพียงร้อยละ 5 จะเหมาะส าหรับการเจริญเติบโตของพืช แต่ถ้า

                      หากมากหรือน้อยเกินไปจะเป็นอันตรายต่อพืชที่ขึ้นอยู่ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ที่
                      เหมาะสมจะเป็นปัจจัยที่ช่วยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์อย่างไรก็ตามองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อ

                      ความอุดมสมบูรณ์ที่กล่าวไว้ จะชี้ให้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของดินจะต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ

                      หลายอย่าง ไม่ใช้องค์ประกอบเพียงอย่างหนึ่งอย่างใดเท่านั้น
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66