Page 69 - การศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพและเคมีของดินบริเวณพื้นที่ปลูกป่าของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
P. 69

52


                      แผ้วถาง  และเผาเป็นเวลานานปีแตกต่างกันกับป่าดิบเขาธรรมชาติ  แม้ว่าในชั้นหน้าตัดของดินที่

                      ระดับความลึก  0 – 50  เซนติเมตร  จะมีความหยาบละเอียดเป็น  Sandy  Loam  รวมทั้งบริเวณที่ถูก
                      แผ้วถางนาน  10  –  15  ปี  ตั้งแต่ระดับความลึก  120  เซนติเมตร  ลงไปจะมีเนื้อดินเป็น  Sandy

                      Loam  ด้วยเช่นกัน  ซึ่งผลของความแตกต่างดังกล่าว  เนื่องมาจากการกร่อนของดิน  และการชะล้าง

                      อนุภาคดินเหนียวในชั้นหน้าของดิน
                             วันชัย  (2525)  รายงานว่าการเปลี่ยนสภาพป่าดิบเขาไปใช้ประโยชน์ประเภทต่างๆ ไม่มี

                      อิทธิพลต่อสมบัติทางด้านสีของดิน  แต่ลักษณะของเนื้อดินมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนจาก  Sandy  Clay

                      Loam  ไปเป็น  Sandy  Loam    เนื่องจากเกิดขบวนการกันชะดินจนท าให้ปริมาณอนุภาคของทรายมี
                      มากขึ้นตามผิวดิน

                             ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการกัดชะดินขึ้นอยู่กับชนิดของดิน  ความลาดชันของพื้นที่  พืชปกคลุม

                      ดิน  ปริมาณของฝนและดินฟ้าอากาศ  (Gustafson,  1941)    จาการศึกษาของ  Bennett    (1939)

                      รายงานว่าระยะเวลาที่จะท าให้เกิดการกร่อนดิน  Silt    Loam    ได้ถึง  7  นิ้ว  ในพื้นที่ที่มีความลาด
                      เอียง  12  เปอร์เซ็นต์  จะแตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่  โดยในป่าธรรมชาติใช้เวลานาน  173,700

                      ปี  ในพื้นที่ที่มีหญ้าปกคลุมใช้เวลา  28,900  ปี  และในพื้นที่ว่างเปล่าใช้เวลาเพียง  17  ปี  ต้นไม้และ

                      พืชพรรณพื้นล่างเป็นสิ่งปกคลุมดินที่มีความส าคัญมาก  เนื่องจากช่วยลดก าลังในการตกกระทบของ
                      เม็ดฝน  ซึ่งจะก่อให้เกิดการสูญเสียหน้าดิน  และธาตุอาหารในดินไป  นอกจากนั้น   บันดากิ่ง  ก้าน

                      ใบ  ของพืชที่ตกหล่นลงมาทับถมที่ผิวดินยังช่วยซับน้ าให้ไหลลงดิน  และลดอัตราการเกิดน้ าไหลบ่า

                      หน้าดิน  (Surface    runoff)    ให้น้อยลงด้วย  Ruangpanit    (1971)    ได้ศึกษาอิทธิพลของความ

                      หนาแน่นของเรือนยอดที่มีต่อการสูญเสียดินและน้ า  พบว่าปริมาณการสูญเสียดินและน้ าจะเพิ่มขึ้น
                      ถ้าฝนตกเป็นระยะเวลานาน  และพื้นที่นั้นมีความหนาแน่นของเรือนยอดที่ปกคลุมน้อยกว่า  70

                      เปอร์เซ็นต์  แต่เปอร์เซ็นต์การคลุมดินของพืชจะไม่มีประสิทธิภาพในการลดพลังงานจลน์ของเม็ด

                      ฝน  ถ้าหากร่มใบของต้นไม้อยู่สูงจากระดับพื้นดินมากไป  (สนองชัย,  2528)    การกร่อนของดิน
                      (Soil  erosion)  ในประเทศไทยนั้น  ส่วนมากตัวการกระท าได้แก่  น้ า  ซึ่งเกิดจากฝน
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74