Page 63 - การศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพและเคมีของดินบริเวณพื้นที่ปลูกป่าของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
P. 63

46


                                  -  เก็บตามระดับความลึกของชนิดพืชที่ปลูกเช่นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์เก็บที่ระดับความลึก

                      5-10 เซนติเมตร ข้าวข้าวโพดถั่วชนิดต่างๆพืชผักต่างๆเก็บที่ระดับความลึก 0-15, 15-30 หรือ 0-30
                      เซนติเมตรพืชยืนต้นควรเก็บเป็นช่วงๆตามความลึก  0-15,  15-30  หรือ  0-30,  30-60,  60-100

                      เซนติเมตรเป็นต้น

                             -  เก็บดินประมาณ 500 กรัมต่อตัวอย่างพร้อมข้อมูลประวัติได้แก่พิกัดชนิดพืชที่ปลูกเคยใส่
                      ปุ๋ยปูนสิ่งปรับปรุงดินใดบ้างผลผลิตที่ได้รับเป็นอย่างไรและมีปัญหาอย่างไร

                             3.3.2. แบบเจาะส ารวจดิน (Soil Boring)

                                     การเจาะส ารวจหาสภาพชั้นดิน จะท าควบคู่กับการเก็บตัวอย่างดินและการทดสอบ
                      ดินในสนามโดยการทดลองสาธิตนี้จะท าการเจาะโดยใช้สว่านมือและการเจาะโดยใช้การฉีดล้าง

                                     3.3.2.1.  การเจาะโดยใช้สว่านมือ (Hand  Augur  Boring)  เป็นเครื่องมือที่ง่าย โดย

                      อาศัยแรงคนหมุน นิยมใช้มี สองชนิด คือ Helical augur and Post-hole augur การเจาะจะใช้สว่านมือ

                      ในการเจาะโดยใช้แรงคนกดผ่านก้านเจาะตัวก้านเจาะนั้นสามารถต่อให้ยาวหลายๆ ท่อนได้ เมื่อกด
                      พร้อมหมุนมือจนเก็บดินให้เต็มสว่านแล้วดึงขึ้น เอาดินออกเก็บไว้ทดสอบต่อไป วิธีนี้อาจใช้เจาะดิน

                      ได้ลึกเกือบ 10 เมตร เหมาะกับสภาพดินประเภทดินเหนียวปานกลางที่ระดับน้ าใต้ดินไม่สูงมากนัก

                                     3.3.3.2.การเจาะโดยใช้การฉีดล้าง (Wash Boring)  การเจาะดินชนิดนี้ มักใช้ความ
                      ดันน้ าหรือ Drilling mud  เช่น Bentonite ท าให้ดินหลวมและหลุดตัวเป็นเม็ดลอยขึ้นมาบ่อยครั้งใช้

                      ควบคู่กับปลอกเหล็ก ป้องกันหลุมตอนบนพัง ก้านหัวเจาะตอนปลายมีท่อฉีดน้ าเวลาเจาะดินจะยก

                      กระแทกดินก้นหลุมขึ้นลงทั้งนี้จะช่วยให้ก้อนดินหลุดและลอยไหลตามน้ าขึ้นมาได้ง่าย อุปกรณ์ที่

                      ส าคัญ คือ สามขา (Tripod) และ ตัวเครื่องเจาะ (Drilling machine)

                      3.4  การวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพของดิน


                             สมบัติทางกายภาพของดินเป็นสมบัติที่สามารถสังเกตมองเห็นและสัมผัสได้ได้แก่เนื้อดิน

                      โครงสร้างของดินและสีของดินรวมถึงสมบัติอื่นๆเช่นความหนาแน่นรวมความพรุนและ
                      ความสามารถในการอุ้มน้ าเป็นต้นโดยทั่วไปจะวิเคราะห์เฉพาะเนื้อดินเท่านั้นเพื่อใช้ในการคาดคะเน

                      ความสามารถในการอุ้มน้ าและการถ่ายเทอากาศของดินเนื้อดิน  (Soil  texture)  เป็นสมบัติทาง

                      กายภาพขั้นมูลฐานมีส่วนในการก าหนดสมบัติทางกายภาพอื่นๆของดินเนื้อดินถูกก าหนดด้วย

                      สัดส่วนเป็นเปอร์เซ็นต์โดยน้ าหนักตามขนาดอนุภาคดินออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่
                                  1) ดินทราย (Sand) มีอนุภาคอนินทรีย์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.02-2.00 มิลลิเมตร.ตาม

                      ระบบสากล (ISSS) หรือ 0.05-2.00 มิลลิเมตรตามระบบ USDA เป็นทรายละเอียดมากจนถึงทราย

                      หยาบมาก
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68