Page 67 - การศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพและเคมีของดินบริเวณพื้นที่ปลูกป่าของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
P. 67

50


                      ป่าเต็งรังเป็นสังคมพืช  ที่พบเฉพาะในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์เท่านั้น  (สมศักดิ์,    2521)    ส าหรับ

                      ประเทศไทยมีกระจายอยู่ทุกภาค  ยกเว้นภาคใต้  จากสถิติการป่าไม้  พ.ศ. 2537  รายงานว่าพื้นที่ป่า
                      เต็งรังทั่วประเทศมีประมาณ  48,930  ตารางกิโลเมตร  หรือ  31.25  เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ป่าทั้งหมด

                      (ส่วนศูนย์ข้อมูลกลาง, 2537)  กระจายอยู่ตั้งแต่ช่วงระดับสูง  100 – 1,000  เมตร  จากระดับน้ าทะเล

                      เฉลี่ยปานกลาง  (สุวิทย์, 2510)  กล่าวว่า  ป่าเต็งรังจะขึ้นได้ดีในเนื้อดินที่เป็น  Sandy  Clay  Loam
                      และดินจะมีสภาพเป็นกรดถึงเป็นกลาง  จากการรวบรวมผลการวิจัยของหลายๆท่านเกี่ยวกับสมบัติ

                      ต่าง ๆ  ของดินในป่าเต็งรังของประเทศไทย  ปรากฏว่าดินชั้นบนที่ระดับ  0 – 15  เซนติเมตร  จะมี

                      ความหนาแน่นรวมระหว่าง  1.04 – 1.65  กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร  ค่าเฉลี่ยประมาณ  1.27  กรัม
                      ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร  ความหนาแน่นอนุภาคมีค่าระหว่าง  1.96 – 2.59  กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร

                      ค่าเฉลี่ยประมาณ  2.23  กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร

                             3.5.1 การหมุนเวียนของธาตุอาหารในระบบนิเวศป่าไม้

                             การหมุนเวียนของธาตุอาหารในระบบนิเวศป่าไม้  ก่อให้เกิดพลังงาน  และการเคลื่อนย้าย
                      ธาตุอาหารที่ส าคัญต่อพืช  กล่าวคือ  ขบวนการหมุนเวียนของธาตุอาหารในป่าธรรมชาติจะเริ่มจาก

                      การที่พืชดูดธาตุอาหารขึ้นไปใช้  และสะสมไว้ตามส่วนต่างๆ  ของพืช  จากนั้นจะกลับลงสู่พื้นดิน

                      อีกเมื่อส่วนต่าง ๆ  ของพืชร่วงหล่นลงสู่พื้น  และเกิดการผุสลายในเวลาต่อมา  ปริมาณธาตุอาหารใน
                      ดิน  นอกจากจะได้จากซากพืชแล้วก็อาจได้จาก  Throughfall ด้วยก็ได้  ถึงแม้จะมากนัก  (เทียม  และ

                      คณะ,    2512)    ธาตุอาหารที่ส าคัญและพืชต้องการในปริมาณที่มาก  ได้แก่  ไนโตเจน  ฟอสฟอรัส

                      โปรแตสเซียม  แคลเซียมเซียม  แมกนีเซียม  และก ามะถัน  ซึ่งโดยปกติดินทั่วไปมักจะมีธาตุไนโต

                      เจน  ฟอสฟอรัส  และโปรแตสเซียม  อยู่ในปริมาณน้อย  (สุรศักดิ์,  2527)    ธาตุอาหารต่างๆ  จะ
                      กระจายอยู่ทุกส่วนของพืช  โดยปริมาณความเข้มข้นของธาตุอาหารจะกระจายอยู่ที่ใบมากที่สุด

                      รองลงมา  ได้แก่  เปลือก  กิ่ง  ล าต้น  และรากตามล าดับ  จากการศึกษาของ  Prachaiyo  and

                      Tsutsumi  (1989)  พบว่าความเข้มข้นของธาตุอาหารในพันธุ์ไม้ป่าดิบแล้ง  มิได้ขึ้นอยู่กับขนาดของ
                      ต้นไม้  หากแต่ขึ้นกับชนิดไม้และขนาดพื้นที่ของผิวใบ  ส าหรับเนื้อไม้นั้นจะมีปริมาณธาตุอาหาร

                      ค่อนข้างต่ า  เมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆ  ของพืช  โดยจะมีเพียง  0.2  –  1  เปอร์เซ็นต์  เท่านั้น  (Kramer

                      and  kozlowski,1960)
                             ศิริวัฒน์  (2519)    ได้ศึกษาการร่วงหล่นและปริมาณธาตุอาหารของซากพืชในป่าเต็งรัง

                      พบว่าปริมาณซากพืชร่วงหล่นลงสู่พื้นป่าประมาณปีละ  4,664  ตันต่อเฮกแตร์  โดยแยกเป็นใบ

                      3,437  ตันต่อเฮกแตร์  หรือประมาณ  73.69  เปอร์เซ็นต์ของประมาณซากพืชทั้งหมด  และมวล
                      ชีวภาพของไม้พื้นล่างได้แก่  หญ้าเพ็ก  ประมาณ  1.343  ตันต่อเฮกแตร์  จากประมาณซากพืชและ

                      และไม้พื้นล่างดังกล่าว  จะให้ธาตุอาหารแก่ระบบนิเวศของป่านี้  คือไนโตรเจน  64.20  กิโลกรัมต่อ

                      เฮกแตร์  ฟอสฟอรัส  3.98  กิโลกรัมต่อเฮกแตร์ โปแตสเซียม36.98  กิโลกรัมต่อเฮกแตร์  แคลเซียม

                      48.80  กิโลกรัมต่อเฮกแตร์  และแมกนีเซียม  12.74  กิโลกรัมต่อเฮกแตร์
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72