Page 60 - การศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพและเคมีของดินบริเวณพื้นที่ปลูกป่าของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
P. 60

43




                                  - ชั้น O    หรือเรียกว่า ชั้นดินอินทรีย์คือ ชั้นที่มีการสะสมอินทรียวัตถุทั้งที่มาจากพืช
                      และสัตว์

                      ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมาจากพืช เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ หญ้า และพืชอื่นๆ ทั้งพวกที่มีการสลายตัวเพียง

                      เล็กน้อย สลายตัวปานกลาง หรือสลายตัวมากจนไม่สามารถสังเกตเห็นลักษณะของชิ้นส่วนดั้งเดิม
                                  - ชั้น A หรือ ชั้นดินบน ชั้นดินที่ประกอบด้วยอินทรียวัตถุที่สลายตัวแล้วผสมคลุกเคล้า

                      อยู่กับแร่ธาตุในดิน มักมีสีคล้ า

                                  - ชั้น E หรือ ชั้นชะล้าง เป็นชั้นดินที่มีสีซีดจาง มีปริมาณอินทรียวัตถุน้อยกว่ากว่าชั้น A

                      และมักจะมีเนื้อดินหยาบกว่าชั้น B ที่อยู่ตอนล่างลงไป
                                  - ชั้น B หรือ ชั้นดินล่าง เป็นชั้นที่แสดงถึงการเคลื่อนย้ายมาสะสมของวัสดุต่างๆ เช่น

                      อนุภาคดินเหนียว

                                  - ชั้น C หรือ ชั้นวัตถุต้นก าเนิดดินเป็นชั้นของวัสดุที่เกาะตัวกันอยู่หลวมๆ อยู่ใต้ชั้นที่
                      เป็นดิน ประกอบด้วยหินและแร่ที่ก าลังผุพังสลายตัวชั้น หินพื้นฐาน หรือที่เรียกกันว่า ชั้น R ซึ่งเป็น

                      ชั้นของหินแข็งชนิดต่างๆ ที่ยังไม่มีการผุพังสลายตัวอยู่ในหน้าตัดดินด้วย

                                  -  ชั้น R  หรือชั้นหินพื้นเป็นชั้นหินแข็งที่ยังไม่ผุพังสลายตัว อาจจะมีหรือไม่มีในหน้า

                      ตัดดินก็ได้
                             ชั้นต่างๆ ในดินที่เราใช้เพาะปลูกพืช อาจจะแบ่งอย่างง่ายๆ ดังนี้

                                  -  ชั้นดินบนหรือเรียกว่า “ชั้นไถพรวน”  โดยทั่วไปมีความหนาประมาณ 15-30

                      เซนติเมตร. จากผิวหน้าดิน ชั้นดินบนนี้เป็นชั้นที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก เพราะเป็นชั้นที่มี
                      อินทรียวัตถุหรือฮิวมัส สูงกว่าชั้นดินอื่นๆ โดยปกติจะมีสีคล้ าหรือด ากว่าชั้นอื่นๆ รากพืชส่วนใหญ่

                      จะชอนไชหาอาหารอยู่ในช่วงชั้นนี้

                                  - ชั้นดินล่างเป็นชั้นที่มีอินทรียวัตถุน้อยกว่า รากพืชที่ชอนไชลงมาถึงชั้นนี้ส่วนใหญ่จะ
                      เป็นรากของไม้ผลหรือไม้ยืนต้นที่มีขนาดใหญ่ ทั้งนี้เพื่อยึดเกาะดินไว้ให้พืชทรงตัวอยู่ได้ ไม่โค่นล้ม

                      ลงได้ง่ายเมื่อมีลมพัดแรงโดยทั่วไปรากพืชเจริญเติบโตและดูดธาตุอาหารเฉพาะในส่วนที่เป็นดินบน

                      และดินล่าง ซึ่งดินแต่ละชนิดมีความลึกไม่เท่ากัน ดินที่ลึกจะมีพื้นที่ให้พืชหยั่งรากและดูดธาตุอาหาร

                      ได้มากกว่าดินที่ตื้น การปลูกพืชให้ได้ผลดีจึงควรค านึงถึงความลึกของดินด้วย
                             3.2.3. ความอุดมสมบูรณ์ของดินปรียานุช  (2553) ได้รายงานว่า

                                  ดินในส่วนต่างๆของโลกจะมีความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกัน โดยมีองค์ประกอบส าคัญ

                      ที่มีผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน ดังต่อไปนี้

                             3.2.4.ความหนาแน่นของชั้นดิน
                                  ..ดินจะมีความอุดมศมบูรณ์ของดินมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชั้นของดิน ดินที่มีชั้นหนาจะ

                      มีแร่ธาตุสะสมอยู่มากและสามารถอุ้มน้ าไว้ได้มากเช่นกันบริเวณที่ดินมีชั้นหนามักจะปรากฏอยู่ใน
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65