Page 56 - การศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพและเคมีของดินบริเวณพื้นที่ปลูกป่าของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
P. 56

บทที่ 3

                                                        การตรวจเอกสาร


                      3.1 ข้อมูลทั่วไปศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชด าริ
                             3.1.1. ประวัติโดยสังเขป

                             การจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชด าริสภาพเดิมของพื้นที่

                      ก่อนด าเนินการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ ได้มีราษฎรเข้ามาบุกรุกแผ้วถางป่า มีการท า
                      การเกษตร อย่างไม่ถูกต้องไม่ถูกวิธี ขาดหลักวิชาการ มีการใช้สารเคมีเกินความจ าเป็น ดินขาดการ

                      บ ารุง รักษา  ท าให้ธรรมชาติเกิดความเสื่อมโทรม ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลบางครั้งแห้งแล้ง บางครั้ง

                      ฝนตกมากเกินไป เกิดการพังทลายของดินของหน้าดินคุณภาพของดินเสื่อมโทรม ลักษณะดินที่พบ

                      ในบริเวณนี้ ส่วนใหญ่เป็นดินปนทราย ชั้นล่างมีสภาพแข็งเป็นดาน เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2526
                      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เสด็จพระราชด าเนินทอดพระเนตรพื้นที่ห้วยทราย ทรงมีพระราช

                      ด ารัสความตอนหนึ่งว่า “หากปล่อยทิ้งไว้จะเป็นทะเลทรายในที่สุด”และมีพระราชด าริ ให้จัดตั้งศูนย์

                      ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชด าริขึ้นเพื่อฟื้นฟูสภาพป่าไม้ให้กลับอุดมสมบูรณ์
                      ดังเดิม สามารถท าการปลูกพืชชนิดต่างๆควบคู่ไปกับการปลูกป่า จัดหาแหล่งน้ าสนับสนุนการปลูก

                      ป่าและการเพาะปลูกพืชจัดระเบียบราษฎรให้ราษฎรในพื้นที่โครงการ ให้เข้าอยู่อาศัยและท ากินอย่าง

                      ถูกต้องตามหลักวิชาการและสอดคล้องกับธรรมชาติให้ราษฎรเข้าร่วมดูแลรักษาตลอดจนได้อาศัย
                      ผลผลิตจากป่าและเพาะปลูกพืชต่างๆ โดยไม่ต้องเข้าไปบุกรุกท าลายป่าไม้อีกต่อไป

                             ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชด าริ ได้ด าเนินการสนองแนว

                      พระราชด าริ มาโดยตลอด โดยมีหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมสนองงาน จัดท าโครงการและกิจกรรม

                      ต่างๆ จนเป็นผลท าให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับการพัฒนาและฟื้นฟูให้กลับมีความ
                      อุดมสมบูรณ์ ส่งผลต่อระบบนิเวศน์ป่าไม้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดี (ศูนย์ศึกษาการพัฒนา

                      ห้วยทรายฯ,2554)
















                           ภาพที่  30  สภาพเดิมก่อนจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชด าริ
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61