Page 24 - ลักษณะและสมบัติของชุดดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
P. 24
14 ชุดดินกุลารองไห (Kula Ronghai series: Ki)
กลุมชุดดินที่ 20
การจําแนกดิน Fine-loamy, mixed, active, isohyperthermic Typic Natraqualfs
การกําเนิด เกิดจากตะกอนน้ําพามาทับถมอยูบนที่ราบตะกอนน้ําพา
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงคอนขางราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 %
การระบายน้ํา เลว
การไหลบาของน้ําบนผิวดิน ชา
การซึมผานไดของน้ํา ปานกลางถึงชา
พืชพรรณธรรมชาติและการใชประโยชน ทํานา บางแหงถูกปลอยทิ้งไวใหเปนที่รกรางวางเปลา
เนื่องจากเปนดินเค็มจัด
การแพรกระจาย พบมากบริเวณตอนใตของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การจัดเรียงชั้น Apg-Btgn-Cg
ลักษณะและสมบัติดิน เปนดินลึก ดินบนเปนดินรวนหรือดินรวนปนทราย สีน้ําตาลปนเทา ดินลาง
เปนดินรวนหรือดินรวนเหนียวปนทราย สีเทาหรือสีเทาปนชมพู ซึ่งเปนชั้นสะสมประจุโซเดียมที่
แลกเปลี่ยนได มักพบจุดประสีน้ําตาล สีเหลืองปนน้ําตาลหรือสีน้ําตาลปนเหลืองตลอดหนาตัดดิน ใน
ฤดูแลงจะมีคราบเกลือลอยหนาที่ผิวดิน ในดินลางลึกกวา 1 เมตรลงไป เปนดินรวน สีเทาหรือสีเทา
ปนเขียวหรืออาจพบดินรวนปนทรายหรือดินทรายปนดินรวน สีเทาปนชมพูหรือสีน้ําตาลออน (ชั้น 2C) ปฏิกิริยาดินเปนกรด
จัดถึงเปนกลาง (pH 5.0-7.0) ในดินบนและเปนดางเล็กนอยถึงเปนดางจัด (pH 7.5-8.5) ในดินลาง
ความลึก อินทรียวัตถุ ความจุแลกเปลี่ยน ความอิ่มตัวเบส ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ความอุดมสมบูรณ
(ซม.) แคตไอออน ที่เปนประโยชน ที่เปนประโยชน ของดิน
0-25 ต่ํา ปานกลาง สูง ต่ํา ต่ํา ปานกลาง
25-50 ต่ํา ปานกลาง สูง ต่ํา ต่ํา ปานกลาง
50-100 ต่ํา ปานกลาง สูง ต่ํา ต่ํา ปานกลาง
ชุดดินที่คลายคลึงกัน ชุดดินอุดร
ขอจํากัดการใชประโยชน เปนดินเค็มดาง มีเกลือโซเดียมสูงซึ่งมีผลตอการเจริญเติบโตของพืช มีโครงสรางไม
เหมาะสม
ขอเสนอแนะในการใชประโยชน ปรับปรุงดินโดยใชอินทรียวัตถุและใสยิปซัม ปลูกพืชทนเค็ม และสรางแหลงน้ํา
สํารองไวใชในยามที่ฝนทิ้งชวง
16