Page 60 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 60

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          54








                                 3)  ปริมาณเชื้อราย่อยเซลลูโลสในดิน
                                      จากผลการวิเคราะห์ปริมาณเชื้อราย่อยเซลลูโลสในดิน (ตารางที่ 10) พบว่า ช่วงแรกของ
                  การย่อยสลาย 10 - 20 วัน ทุกตำรับการทดลองมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ ที่ระยะเวลาการย่อยสลาย 10 วัน มี
                  ปริมาณเชื้อระหว่าง 5.680 - 5.880 log เซลล์ต่อกรัม ที่ระยะเวลาการย่อยสลาย 20 วัน มีปริมาณเชื้อระหว่าง

                  5.764 - 5.993 log เซลล์ต่อกรัม และช่วงการย่อยสลาย 30  40 และ 50 วัน ปริมาณเชื้อราย่อยเซลลูโลสในดิน มี
                  ค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p < 0.01) ที่ระยะเวลาการย่อยสลาย 30 วัน พบว่า ตำรับการทดลองที่
                  3 การใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ มีปริมาณเชื้อสูงสุด 6.863
                  log เซลล์ต่อกรัม มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติกับตำรับการทดลองที่ 2 การใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตรา 5 ลิตรต่อน้ำ 50

                  ลิตรต่อไร่ ตำรับการทดลองที่ 4 การใช้ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส และตำรับการทดลองที่ 5 การใช้ผลิตภัณฑ์สาร
                  เร่งซุปเปอร์ พด. 1 อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ มีปริมาณเชื้อระหว่าง 6.771 - 6.824 log เซลล์ต่อกรัม โดย
                  ปริมาณเชื้อเริ่มมีค่าลดลงที่ระยะเวลาการย่อยสลาย 40 วัน พบว่า ตำรับการทดลองที่ 3 การใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์
                  ผสมเอนไซม์เซลลูเลส และตำรับการทดลองที่ 4 การใช้ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตร

                  ต่อไร่ มีปริมาณเชื้อสูงสุดไม่แตกต่างกันทางสถิติ 6.642 และ 6.715 log เซลล์ต่อกรัม ตามลำดับ  และเมื่อ
                  ระยะเวลาการย่อยสลาย 50 วัน การใช้ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ มีปริมาณเชื้อระหว่าง 5.396 -
                  5.498 log เซลล์ต่อกรัม แต่ทุกตำรับการทดลองมีค่าสูงกว่าตำรับควบคุมที่มีค่าต่ำสุด ขณะที่ระยะเวลาการย่อย

                  สลาย 60 วัน ทุกตำรับการทดลองมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ มีปริมาณเชื้อระหว่าง 5.387 - 5.497 log เซลล์ต่อ
                  กรัม ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส และผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส ฉีดพ่นลง
                  บนเศษซากพืชในแปลงและลงดิน มีผลให้ปริมาณเชื้อราย่อยเซลลูโลสในดินเพิ่มขึ้นในช่วงการย่อยสลายเศษพืชที่
                  ระยะเวลา 30 วัน หลังจากนั้น การเจริญของเชื้อราย่อยเซลลูโลสในดินเริ่มลดลง สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ของ
                  น้ำหนักแห้งที่เหลืออยู่ของเศษพืช และอัตราการย่อยสลายเศษพืชลดลงภายหลังการย่อยสลาย 30 วัน ทำให้

                  ปริมาณเชื้อราลดลง เนื่องจากจุลินทรีย์ขาดแหล่งอาหาร และสารตั้งต้นในกระบวนการย่อยสลายเศษพืช

                  ตารางที่ 10  ปริมาณเชื้อราย่อยเซลลูโลสในดินตามช่วงระยะเวลาการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
                             ในสภาพแปลงจากการปลูกรอบที่ 1

                                                                 ปริมาณเชื้อรา (log เซลล์ต่อกรัม)
                          ตำรับการทดลอง
                                                   10 วัน    20 วัน     30 วัน   40 วัน     50 วัน   60 วัน
                   1 = ควบคุม                       5.690     5.764    5.858 b  5.674 c  4.457 a  5.433

                   2 = น้ำหมักชีวภาพ                5.880     5.918    6.824 a  5.859 b   5.396 b  5.456
                   3 = ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสม

                       เอนไซม์เซลลูเลส              5.844     5.839    6.863 a  6.642 a  5.437 b  5.443
                   4 = ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส     5.750     5.993    6.771 a  6.715 a  5.432 b  5.387
                   5 = ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พด.1    5.680   5.874   6.809 a    5.759 bc  5.498 b  5.497

                               F-test                ns        ns        **        **        **        ns
                              CV (%)                3.09      2.02      2.05      1.55      2.77      2.08
                  หมายเหตุ : ตัวอักษรที่เหมือนกันในสดมภ์เดียวกันไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยการใช้ DMRT

                           ns ไม่แตกต่างกันทางสถิติ **  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65