Page 24 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          18




















                  ภาพที่ 8  ลักษณะโครงสร้างคาร์โบไฮเดรตที่ใช้เป็นสารปกป้องเซลล์จุลินทรีย์

                  ที่มา : Santivarangkna et al. (2008)

                                 1.1) แล็กโทส (lactose) หรือ 4-0-ß-D-galactopyranosyl-D-glucopyranose (ภาพที่ 9)
                  เป็นน้ำตาลที่พบเฉพาะในน้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้น เรียกว่า milk sugar น้ำตาลแล็กโทสสามารถ

                  ถูกไฮโดรไลซ์ได้ด้วยเอนไซม์แล็กเทส (ß-D-galactosidase) หรือด้วยกรดแก่ ได้เป็นน้ำตาลกลูโคสและ
                  กาแล็กโทส น้ำตาลแล็กโทสโมโนไฮเดรต (แอลฟา - ไอโซเมอร์) มีจุดหลอมเหลวที่อุณหภูมิ 202 องศาเซลเซียส
                  ส่วนน้ำตาลแล็กโทสที่อยู่ในรูปแอนไฮดรัสแอลฟา - แล็กโทส และบีต้า - แล็กโทส มีจุดหลอมเหลวที่อุณหภูมิ

                  223 และ 252 องศาเซลเซียส ตามลำดับ (นิธิยา, 2549) จากรายงานการผสมระหว่างเวย์โปรตีนกับน้ำตาล
                  แล็กโทสเป็นสารปกป้องเซลล์ Lactobacillus delbrueckii  ในการทำแห้งแบบพ่นฝอย พบว่า จุลินทรีย์
                  สามารถต้านทานความร้อนได้ดีขึ้น (Rosenberg and Sheu, 1996 ; Young et al., 1993)












                  ภาพที่ 9  โครงสร้างแล็กโทส
                  ที่มา : Admin (2010)

                                 1.2) มอลโตเดกซ์ตริน (maltodextrin) เป็นสารประเภทพอลิแซ็กคาไรด์ ที่ได้จากการย่อย

                  โมเลกุลของสตาร์ซ (starch) บางส่วนให้เป็นสายสั้น ๆ ของน้ำตาลกลูโคส (glucose) โครงสร้างโมเลกุล
                  ประกอบด้วยหน่วย D - กลูโคสต่อกันเป็นสายยาวที่เชื่อมต่อด้วยพันธะ α- (1-4) ไกลโคซิดิก มอลโตเดกซ์ตริน
                  (ภาพที่ 10) แบ่งได้ตามค่าสมมูลเด็กซ์โทรส (dextrose equivalent, DE) คือ ปริมาณร้อยละของน้ำตาลรีดิวซ์
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29