Page 22 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 22
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
16
ตารางที่ 2 ข้อดีและข้อเสียของการหมักแบบอาหารแข็งและอาหารเหลว
ข้อดี ข้อเสีย
ผลผลิตที่สูงขึ้น มีการเคลื่อนย้ายค่อนข้างยาก
การไหลเวียนของออกซิเจนที่ดีขึ้น มีประสิทธิภาพในการผสมต่ำ
วัตถุดิบที่ใช้ต้นทุนต่ำ มีการควบคุมที่ค่อนข้างยากของพารามิเตอร์ใน
ไม่ต้องกำจัดน้ำที่เสียจากกระบวนการผลิต กระบวนการ (pH, ความร้อน, ความชื้น
ใช้พลังงานน้อยและลดค่าใช่จ่าย สารอาหาร, ฯลฯ)
เป็นกระบวนการหมักที่ง่าย อาจมีปัญหาเกี่ยวกับความร้อนสะสม
เป็นการหมักที่คล้ายกับการเจริญของ ถ้าหากผลิตภัณฑ์มีปนเปื้อนต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง
จุลินทรีย์ที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ ในการกำจัด
ที่มา : Couto and Sanroman (2006)
ดังนั้นการหมักแบบอาหารแข็งเป็นวิธีการที่เหมาะสมในการเพิ่มปริมาณเชื้อรา และการผลิต
เอนไซม์เซลลูเลสโดยจุลินทรีย์ จากรายงานการสร้างเอนไซม์เซลลูเลสของเชื้อ Trichoderma reesei
Aspergillus niger และเชื้อราผสม โดยใช้วิธีการหมักแห้ง โดยใช้ขี้เลื่อย และผักตบชวา เป็นแหล่งคาร์บอน
พบว่า การเลี้ยง Trichoderma reesei แบบเดี่ยวมีค่ากิจกรรมเอนไซม์สูงกว่า โดยใช้เวลาหมัก 10 วัน จะสร้าง
เอนไซม์ได้สูงสุด และเมื่อนำมาเพาะเลี้ยงในถังหมักจะมีการสร้างเอนไซม์ได้เพิ่มขึ้น 2 - 3 เท่า ในขณะที่การ
เพาะเลี้ยงเชื้อราผสมทั้งสองสายพันธุ์จะให้ค่ากิจกรรมของเอนไซม์ได้เพิ่มมากขึ้น (Deshpande et al., 2008)
และการศึกษาเชื้อรา Aspergillus fumigatus Fresenius เพื่อผลิตเอนไซม์ย่อยสลายเซลลูโลส และไซแลน
ด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงแบบอาหารแข็ง สามารถผลิตเอนไซม์ FPase (Filter paper activity) CMCCase
(Carboxymethyl cellulase) ß-xylanase และ ß-xylosidase ได้ 19.40 24.60 15.70 และ 2.30 หน่วยต่อ
กรัมวัสดุหมักแห้ง ตามลำดับ เมื่อเจริญในอาหารที่มีฟางข้าวเป็นแหล่งคาร์บอน (วิเชียร และคณะ, 2535)
3.3 เทคโนโลยีรูปแบบผลิตภัณฑ์ชีวภาพ
3.3.1 เทคนิคการผลิตแบบแห้งแบบเยือกแข็ง (freeze drying) ด้วยวิธี freeze dried technology
การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (freeze dry) หมายถึง การทำให้แห้งด้วยการแช่เยือกแข็ง โดยทำ
ให้น้ำที่อยู่ในเซลล์ซึ่งเป็นของเหลวเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็งที่เป็นผลึกน้ำแข็งเล็ก ๆ ก่อน จากนั้นจะทำการลด
ความดันสภาพแวดล้อมให้ต่ำกว่าบรรยากาศปกติ เพื่อให้ผลึกน้ำแข็งสามารถระเหิด (sublimation) กลายเป็น
ไอ โดยภายใต้อุณหภูมิเท่ากับหรือต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส จะทำให้น้ำแข็งเกิดการระเหิดที่ความดัน 4.7
มิลลิเมตรปรอท หรือต่ำกว่า โดยการเก็บรักษาด้วยการทำให้แห้งแบบเยือกแข็ง เป็นวิธีการเพื่อให้ได้ความ
เสถียรที่เหมาะสมที่สุด แต่เทคนิคการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง ในการรักษาสภาพเส้นใยและสปอร์ของเชื้อ
ต้องสารปกป้องสภาพเชื้อราที่เหมาะสม ในการปกป้องเซลล์จากการทำลายของน้ำแข็ง ดังนั้นการเลือกใช้สาร
ปกป้องที่เหมาะสม จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง เพื่อรักษาเสถียรภาพเส้นใยเชื้อรา ให้อยู่ในสภาพคงความมี
ชีวิตรอดได้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ลักษณะทางสรีรวิทยา หรือกายวิภาค การเก็บรักษาโดยการ
ทำให้แห้งภายใต้แรงดันที่ลดลงจากสภาวะเยือกแข็งโดยการระเหิดของน้ำแข็ง เป็นเทคนิคการเก็บรักษาสปอร์
ของเชื้อราที่ประสบความสำเร็จ ข้อดีของการทำแห้งแบบเยือกแข็งเหนือวิธีการอื่นๆ มีความคงตัวที่ดีของเซลล์