Page 21 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 21

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          15








                  และโคโลนีมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 - 30 มิลลิเมตร โดยกรมพัฒนาที่ดิน (2556ก) ได้มีการใช้ประโยชน์จาก
                  จุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พด. 1 มีกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายซากหรือเศษเหลือจากพืช ผ่าน
                  กระบวนการย่อยสลายโดยกิจกรรมจุลินทรีย์จนเปลี่ยนสภาพไปจากเดิมเป็นวัสดุที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม เปื่อยยุ่ย
                  เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ทนอุณหภูมิสูงมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรและอุตสาหกรรม

                  แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ที่มีองค์ประกอบของเซลลูโลส และไขมันที่ย่อยสลายยาก เพื่อผลิตปุ๋ยหมัก
                  ในเวลารวดเร็ว ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พด. 1 ของกรมพัฒนาที่ดิน ประกอบด้วยเชื้อราย่อยเซลลูโลสจำนวน
                  4 สายพันธุ์ ได้แก่ Scytalidium thermophilum  Chaetomium thermophilum  Corynascus verrucosus
                  และ Scopulariopsis breviacaulis แอคติโนมัยซิสย่อยเซลลูโลส Streptomyces sp. 2 สายพันธุ์ และ

                  จุลินทรีย์ย่อยไขมัน ได้แก่ Bacillus subtilis 2 สายพันธุ์ โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์จะช่วยทำให้อัตราการย่อย
                  สลายเศษพืชเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ทำให้ช่วยลดเวลาในการทำปุ๋ยหมักให้สั้นลง
                         3.2.3  การผลิตเอนไซม์เซลลูเลสโดยจุลินทรีย์
                               กระบวนการผลิตเอนไซม์เซลลูเลสโดยจุลินทรีย์ สามารถแบ่งตามลักษณะอาหารในการเลี้ยง

                  เชื้อ 2 ลักษณะ ดังนี้
                               1) การหมักในสภาพอาหารเหลว (submerged fermentation, SMF)
                                 กระบวนการหมักในอาหารเหลวโดยใช้ถังหมักที่ประกอบด้วยส่วนของการให้อากาศ อาจมี

                  ลักษณะเป็นท่อเปิด หรืออาจมีใบพัด เพื่อช่วยในการเพิ่มอากาศ และกวนให้องค์ประกอบในถังหมักเข้ากันดี
                  และอุปกรณ์ตรวจวัดปัจจัยต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิ ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ และการ
                  เกิดฟอง แต่การหมักแบบเหลวนี้มีประสิทธิภาพต่ำ ในการหมักที่ใช้ลิกโนเซลลูโลส ค่าใช้จ่ายสูง และได้เอนไซม์
                  ความเข้มข้นน้อยกว่าการหมักในสภาพอาหารแห้ง
                               2) การหมักแบบอาหารแข็ง (solid - state fermentation, SSF)

                                 กระบวนการหมักแบบแห้งที่เกี่ยวข้องกับของแข็งในที่ไม่มีน้ำ หรือมีน้ำปริมาณเพียงเล็กน้อย
                  แต่พื้นผิวจะต้องมีความชื้นพอที่จะช่วยการเจริญ และการเผาผลาญอาหารของจุลินทรีย์ ยังช่วยกระตุ้นการ
                  เจริญของจุลินทรีย์ในธรรมชาติในของแข็งที่ชื้น การหมักแบบอาหารแข็งนิยมนำวัสดุเหลือทิ้งจากทาง

                  การเกษตร หรืออุตสาหกรรมเกษตร เพราะใช้พลังงานที่ต่ำกว่า มีน้ำเสียน้อย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยัง
                  เป็นการแก้ไขปัญหาการกำจัดของเสียที่เป็นของแข็งอีกด้วย โดยการหมักแบบอาหารแข็ง มีข้อดีมากกว่าเมื่อ
                  เปรียบเทียบกับการหมักแบบอาหารเหลว เป็นการหมักที่ง่าย และลดค่าใช้จ่ายได้ อีกทั้งยังมีหลักการในการ
                  ควบคุมของพารามิเตอร์ที่แตกต่างกัน เช่น ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง อุณหภูมิ อากาศ การถ่ายโอนออกซิเจน

                  และความชื้น ซึ่งวิธีหมักแบบอาหารแข็งไม่มีความซับซ้อน ซึ่งต่างจากการหมักแบบอาหารเหลว (Couto and
                  Sanroman, 2006) ดังตารางที่ 2
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26