Page 20 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 20
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
14
ภาพที่ 6 ลักษณะ perdium ที่ยื่นออกมาจากผนัง ascoma wall ภาพ SEM 1,000 เท่า
ที่มา : Stchigel et al. (2000)
ภาพที่ 7 Corynascus verrucosus ลักษณะสปอร์แบบโคนีเดีย (conidia) ภาพ SEM 2,200 เท่า
ที่มา : Stchigel et al. (2000)
จากรายงานประสิทธิภาพของเชื้อรา Corynascus พบว่า สามารถผลิตเอนไซม์เซลลูเลส
และการใช้ประโยชน์ทางการเกษตร จากรายงานของ Soni et al. (2008) พบว่า เชื้อ Corynascus verrucosus
มีความสามารถในการย่อยสลายเซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลสจากวัสดุเหลือทิ้งเศษกระดาษ ซึ่งมีประสิทธิภาพใน
การสร้างเอนไซม์เซลลูเลส 51.20 ยูนิตต่อกรัม สามารถสร้างเอนไซม์ไซราเนส (xylanase) 358 ยูนิตต่อกรัม
และมีค่า Fpase 4.65 ยูนิตต่อกรัม ค่าเอนไซม์บีต้า - กลูโคซิเดส 11.40 ยูนิตต่อกรัม และค่า avicel
adsorbable activity 24.80 ยูนิตต่อกรัม และจากรายงานของ Busk and Lange (2013) ได้ศึกษาการทำงาน
ของเชื้อราทนร้อน สามารถคัดแยกได้หลายสายพันธุ์ เช่น Chaetimium senegalense Corynascus
thermophilus และ Melannocarpus albomyces เป็นต้น มีประสิทธิภาพในการผลิตเอนไซม์เซลลูเลส
และค่าพีเอชที่เอนไซม์สามารถทำงานได้อยู่ในช่วงค่าพีเอช 4 - 6 ปัจจุบันประเทศไทยมีรายงานการใช้ประโยชน์
จากเชื้อรา Corynascus verrucosus มีระยะการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Teleomorph stage) มีการสืบพันธุ์
แบบไม่ใช้เพศ (anamorph) จัดเป็นสกุล Corynascus ชอบอุณหภูมิสูงปานกลาง 20 - 45 องศาเซลเซียส
ลักษณะการเจริญบนอาหาร Potato dextrose agar (PDA) ด้านบนโคโลนีเป็นสีครีม ด้านล่างสีครีมน้ำตาล